ความชุกชุมของลูกน้ํายุงลาย ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของประชาชนอําเภอน้ําปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

มาลี โล่ห์พานิช

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ความชุก ชุมของลูกน้ํายุงลาย ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับภาชนะที่พบลูกน้ํายุงลาย พื้นที่อําเภอ น้ําปาด เลือกตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย จํานวน 200 หลังคาเรือน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทําหน้าที่จัดหาและทําความสะอาดภาชนะบรรจุ น้ํา ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสํารวจ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2555 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณา และ เชิงอนุมานโดยใช้สัมประสิทธ์สหพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับดี ร้อยละ 68.5 ปานกลาง ร้อยละ 28.0 และระดับต่ํา ร้อยละ 3.5 โดยส่วนใหญ่มีความรู้ต่ําในเรื่อง กลุ่มคนที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก การติดต่อ การทําลาย ลูกน้ํายุงลายนอกเหนือจากการใช้สารเทมฟอส ลักษณะของยุงนําโรค และเวลาที่ยุงนําโรคชอบกัดคน ด้านการปฏิบัติ พบว่า การ ป้องกันควบคุมไม่ให้เกิดลูกน้ํายุงลายในภาชนะบรรจุน้ําดื่มถูกต้อง ร้อยละ 98.1 แต่การปฏิบัติเพื่อการป้องกันควบคุมลูกน้ํายุงลาย ในภาชนะบรรจุน้ําใช้มีเพียง ร้อยละ 67.7 สําหรับความชุกชุมของลูกน้ํายุงลาย พบว่า มีค่า Container Index (CI) เท่ากับ 8.3 ค่า House Index (HI) เท่ากับ 30.4 และพบว่า การปฏิบัติเพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาชนะที่พบ ลูกน้ํายุงลาย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r= -0.63 , P-value < .05) โดยหลังคาเรือนที่มีการปฏิบัติดีจะมีจํานวนภาชนะที่พบลูกน้ํา ยุงลายจํานวนน้อย 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกประจํา สัปดาห์; 2555.

สําเริง จันทร์สุวรรณ และ สุวรรณ บัว ทวนสถิติสําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537

วรรณภา สุวรรณเกิด และสมศักดิ์ ประจักษ์วงค์, การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ไข้เลือดออก 13 จังหวัดภาคเหนือของประเทศ ไทย, เชียงใหม่, โรงพิมพ์เดอะฟิวเจอร์พรินท์;2539

นิภา จรูญเวสม์ม, กวี เจริญลาภ, ลาวัลย์ เมืองมณี และนลินี อัศวโภคี. โรคเขตร้อน พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: โครงการตําราศิริ ราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหิดล 2524.

ปทุม คําวิเศษ. ความรู้และการปฏิบัติ ตนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ชาวบ้านหมู่บ้านอรุโณทัย ตําบลเมืองนะ อําเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

มานิต ธีระตันติกานนท์ และนิรุจน์ อุทธา รายงานการวิจัยปฏิบัติการเรื่องการควบคุมโรค ไข้เลือดออกโดยกลวิธีเชิงรุก จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2536 2539. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น; 2540.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงาน เฝ้าระวังโรคประจําปี 2549-2554; 2554.