ประเมินการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจําหมู่บ้าน ตําบลโคกมน อําเภอน้ําหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

วรรณา กองสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชนของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลโคกมน อําเภอน้ําหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ จํานวน 66 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา สถานภาพสมรสคู่ มีระยะการปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 1-5 ปี มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างเคยได้รับการอบรมความรู้ใน ด้านสุขภาพจิต ร้อยละ 49.9 ผลการปฏิบัติงานทางด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน ปฏิบัติมากที่สุด คือ การประสานความ ร่วมมือกับผู้นําชุมชนต่างๆ ร้อยละ 93.9 และปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อสนับสนุน การดําเนินงานด้านสุขภาพจิตในชุมชน ร้อยละ 21.1 เหตุผลของการ ไม่ปฏิบัติมากที่สุดคือ มีแกนนําหรือผู้นําชุมชนเป็น ผู้ดําเนินการอยู่แล้ว ร้อยละ 37.9 ด้านการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ปฏิบัติมากที่สุด คือการค้นหาและเก็บข้อมูลด้าน สุขภาพจิตในชุมชน ร้อยละ 93.9 และการปฏิบัติที่น้อยที่สุด คือ การให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตรายกลุ่มหรือรายบุคคลกับผู้ที่อยู่ใน กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 51.5 เหตุผลตอบมากที่สุดคือ คิดว่าไม่มีผู้ป่วยและไม่มีข้อมูลของผู้ป่วย ร้อยละ 22.7

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมสุขภาพจิต.รายงานระดับประเทศ สุขภาพจิตชุมชน 2551.ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2554. จาก http://www.dmh.go.th/download/Ebooks/CommuMH2551/rptCommunity2551th.pdf

กรมสุขภาพจิต . แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2553 - 2554) .ก้นเมื่อ 10เมษายน 2554.

กรรณิกา กาวีวงศ์. การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิดชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย.การพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช,เชียงใหม่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2549.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2542.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2547.

ศิริขวัญ ต้นไพบูลย์.การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชนขอสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม(ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต).จิตวิทยาชุมชน,บัณฑิตวิทยาลัย ,กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยลัยศิลปากร :2549

ยุพา โชติกะพัฒน์. 2548. ความรู้ ความคิดเห็น และการปฏิบัติงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับสุขภาพจิตชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2548 : 13:96-102

กรมสุขภาพจิต. ผลการปฏิบัติยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ยุทธ์ศาสตร์2. รายงานประจำปี 2554:2555: หน้า 35-44