สถานการณ์การปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้ ทัศนคติของผู้ขายเนื้อหมูเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก นายปราโมทย์ เย็นบุญธรรม1 และนายธวัชชัย สัตยสมบูรณ์1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง
(สารซัลบูทามอล) ในเนื้อหมู และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ทัศนคติของผู้ขายเนื้อหมูเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่แบบสอบถามความรู้, ทัศนคติของผู้ประกอบการจำหน่ายเนื้อหมู ตรวจสอบความ
ตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.825 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.และชุดทดสอบการปนเปื้อนสารซัลบูทามอลในเนื้อหมู กลุ่มตัวอย่างร้านขายหมูในตลาด เขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 102 ร้าน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยสถิติ Chi-square
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของผู้ขายเนื้อหมูที่มีต่อสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในเนื้อหมูอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .001 ทัศนคติที่มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในเนื้อหมู อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60.8 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.88 ปัจจัยด้านสถานที่จำหน่ายเนื้อหมูมีความสัมพันธ์กับความรู้ของผู้ขายเนื้อหมูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X² = 14.026 , p = .026 ) ส่วนการตรวจสารเร่งเนื้อแดง ในเนื้อหมูทั้งหมด 102 ตัวอย่าง พบว่า ในเนื้อหมูไม่พบสารเร่งเนื้อแดง
ที่ระดับเท่ากับหรือมากกว่า 5 ppb ร้อยละ 96.72
ข้อเสนอแนะ การเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อหมูควรมุ่งเน้นด้านความรู้ให้กับผู้จำหน่ายในสถานที่จำหน่ายเนื้อหมู ในเรื่องผลกระทบและอันตรายจากการได้รับสารเร่งเนื้อแดงและสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขายเนื้อหมู
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, นิธิยา รัตนาปนนท์. Beta-agonist/ สารเร่งเนื้อแดง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564). เข้าถึงได้จาก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2091/beta-agonist.
รพีพัฒน์ นาคีภัย, เกียรติศักดิ์ พิมพ์จ่อง, สุขกมล เกตุพลทอง, และ ผกาพรรณ เพลียวงษ. การศึกษาสถานการณ์สารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อโคจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย 2563; 13(2): 20-26.
Mookhajohnpan D. Dangerous leanness-enhancing of consume. Forquality, 11: 30-35. 2004.
กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กิจกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกร คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ปีงบประมาณ. 2552. น. 327-331. 2552.
จุลชาติ จุลเพชร และ ตรองรัก บุญเติม. การเฝ้าระวังการใช้สารเร่งเนื้อแดงในจังหวัดกระบี่ระหว่างปี 2548-2552 [อินเทอร์เน็ต]. 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564). เข้าถึงได้จาก www.dld.go.th/certify/th/image/stories/report/academic/BataKabi, doc.8
Warriss, P.D.Kestin S.C.Rolph T.P.Brown S.N. The Effects of the Beta-Adrenergic Agonist Salbutamol on Meat Quality in pigs. J.Anim.sci 1990; 68. pp.128-136.
Yen, J.T.H.J. Mersmann D.A Hill W.G.Pond. The Effects of Ractopamine on Genetically Obese and Lean Pigs.J.Anim.Sci 1990; 68. pp. 3705-3712
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่15). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2557.
Krejicie & Morgan. Determining Sample Size for Research Actives. Educational and Psychological Measurement, 30: pp. 607-610. 1970.
Best, J. W. Research in education. (3rded). New Jersey: Prentice hall. 1977.
Sansabuy shop. ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง (ซัลบูทามอล) [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป.(เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงได้จาก http://www.sansabaytwelve.com/f033.php.
เกียรติสุดา ศรีสุขระเบียบวิธีวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : โรงพิมพ์คลองชั่ง 155-156. 2552.
วารุณี ชลวิหารพันธ์, ดวงกลม. นุตราวงศ์, ณัฐ สวาสดิรัตน์. การศึกษาสถานการณ์สารเร่งเนื้อแดง(เบต้าอะโกนิสต์) ตกค้างในเนื้อสุกรเขตพื้นที่ สระบุรี. รายงานการวิจัย. น. 2-3. 2558.
กุลนรี คำสี และบัญชา ชุติมันตานนท์. การเฝ้าระวังการใช้สารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ในฟาร์มสุกรในพื้นที่สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ปี งบประมาณ 2557-2559[อินเทอร์เน็ต]. 2560 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงได้จาก http://afvc.dld.go.th/images/file- download/Docs610319.pdf.