รูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช

Main Article Content

ประณิดา เลียววรรณ์สืบ

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของเกษตรกรด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช 2) สร้างและพัฒนา รูปแบบการจัดกิจกรรมและนํารูปแบบไปสู่การปฏิบัติ 3 ) ประเมินผลการใช้รูปแบบ ใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control = A-I-C) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจง คือ เกษตรกร 100 คนและภาคีเครือข่าย 10 คน แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของเกษตรกร โดย การสนทนากลุ่ม 2) สร้างและพัฒนารูปแบบและนํารูปแบบไปสู่การปฏิบัติ โดยการสนทนากลุ่ม และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 5 ชุด ได้แก่ 1) แนวทาง เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริม สุขภาพของเกษตร 2) แนวทางความพึงพอใจต่อรูปแบบ 3)แนวทางสนทนากลุ่ม ความพึงพอใจต่อรูปแบบของภาคีเครือข่ายชุมชน 4)แบบประเมินความเสี่ยงในการทํางานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารกําจัดศัตรูพืช และ5) เครื่องมือตรวจวัดระดับสารเคมีใน เลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ สัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test สําหรับข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาก่อนดําเนินกิจกรรมตามรูปแบบ คือ เกษตรกรมีสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ100 และ ความต้องการมีความต้องการให้สุขภาพดีไม่มีสารเคมีตกค้างในเลือด รูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 กิจกรรมได้แก่ 1)การดูแลสุขภาพอนามัย 2)การเสริมสร้างความรู้สภาพการทํางานที่ปลอดภัยจากสารเคมี 3)การใช้ สมุนไพรล้างสารพิษ 4) การปลูกผักสวนครัว 5) การตรวจร้านชํา 6) การเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัย และ 7)การล้างผักที่ ปลอดภัย ผลสําเร็จหลังการดําเนินกิจกรรมครบถ้วน พบว่า เกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารเคมีแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p-value < .05) และ การเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้หรือสัมผัสสารเคมีกําจัดศัตรูพืช ตลอดจนการดูแลตนเองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value < .05) เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรและภาคี เครือข่ายชุมชน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบทั้งในด้านความเหมาะสมของรูปแบบและกิจกรรม ผลสําเร็จต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน สุขภาพซึ่งสามารถนําไปใช้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิผล คําสําคัญ กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพเกษตรกร, รูปแบบ, สารเคมีกําจัดศัตรูพืช

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยั้ง,รายงานข้อมูล 21 แฟ้ม: 2555.

ชรินทร์ ห่วงมิตร.ความสัมพันธ์ระหว่างระดับโคลีนเอสเตอเรสกับการปฏิบัติในการใช้สารเคมี

กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. ม.ป.ท. ; 2541.

สถิต สายแก้ว. การให้ความรู้ร่วมกับกระบวนการกลุ่มต่อการรับรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด

ศัตรูพืชและปริมาณเอ็นไซม์-โคถิ่นเอสเตอเรสในเลือด ของคนงานสวนสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร..

ไพศาล ดั่นคุ้ม. ประสิทธิผลของสมุนไพรรางจืดในการลดสารกำจัดแมลงตกค้างในกระแสโลหิต.

วารสารอาหารและยา 8.3 (กันยายน-ธันวาคม); 2544.

ล้วน สายยศ และ อังคณาสายยศ เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคระสุวีริยาสาส์น:2539.