การเฝ้าระวังกลวิธีส่งเสริมการขายของร้านค้าจําหน่ายบุหรี่ กรณีศึกษา : เขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ไพรัตน์ อ้นอินทร์
กําหนด มีจักร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีส่งเสริมการขายและการสร้างแรงจูงใจต่อการเข้าถึงบุหรี่ของลูกค้า พฤติกรรม ละเมิดหรือเข้าข่ายผิดกฎหมายของเอเย่นต์ ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีกทั่วไป ตลาดนัดขนาดใหญ่ และเพื่อบรรยายผลิตภัณฑ์บุหรี่และ อุปกรณ์ส่งเสริมการสูบบุหรี่ที่มีรูปแบบแปลกใหม่ ที่มีจําหน่ายในร้านดังกล่าว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา ลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง ในพื้นที่เขตเมืองและอําเภอรอบนอก 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ตาก กําแพงเพชร และ อุตรดิตถ์ จังหวัดละ 2 อําเภอ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การล่อซื้อผลิตภัณฑ์ บุหรี่ ระหว่างพฤศจิกายน 2553 – ตุลาคม 2554 รวม 11 เดือน วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปอุปนัย


ผลการวิจัย พบว่า ร้านค้าระดับเอเย่นต์ซื้อบุหรี่จากโรงงานยาสูบ ดําเนินการ โดยติดต่อกับตัวแทนของโรงงานยาสูบ โดย โรงงานยาสูบกําหนดราคาขายและกําหนดโควต้าให้เอเย่นต์แต่ละจังหวัด หากร้านค้าส่งสั่งซื้อปริมาณมากเอเย่นต์จะลดราคาให้ เอเย่นต์สนับสนุนตู้โชว์ และมีการจัดงานเลี้ยงขอบคุณร้านค้าส่ง ในงานมีการแจกของชําร่วย อุปกรณ์หรือภาชนะ ที่มีสัญลักษณ์ ยี่ห้อบุหรี่ให้ร้านอาหาร สําหรับร้านค้าส่งไม่พบกลวิธีส่งเสริมการขายและการสร้างแรงจูงใจต่อร้านค้าปลีก ส่วนร้านค้าปลีกทั่วไป ได้แก่ ร้านโชห่วย ส่วนมากมีตู้โชว์บุหรี่ และพบพฤติกรรมละเมิดกฎหมาย ได้แก่ จงใจเปิดตู้โชว์ตลอดเวลา เขียนบอกราคาบุหรี่ ติดข้างตู้ มีอุปกรณ์ สินค้าเลียนแบบยี่ห้อบุหรี่เพื่อโฆษณา มีการแบ่งขายบุหรี่ และขายให้กับผู้ที่มีอายุต่ํากว่า 18 ปี ร้านสะดวกซื้อ บางสาขาจงใจเปิดตู้ พบว่า พนักงานมีแรงจูงใจได้ค่าตอบแทนจากตัวแทนโรงงานยาสูบ สําหรับร้านอาหาร, คาราโอเกะ จะไม่วาง โชว์บุหรี่ แต่จะเก็บในลิ้นชักโต๊ะแคสเชียร์ ลูกค้าสามารถซื้อได้โดยติดต่อผ่านบริกร สําหรับตลาดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะตลาดริม เมย อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีการจําหน่ายบุหรี่อย่างอิสระโดยชาวต่างชาติ นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถทองลองบุหรี่ ได้ทุกยี่ห้อ ตามต้องการ


ข้อเสนอแนะที่สําคัญ คือ ควรมีการปรับ พรบ. ที่เกี่ยวข้อง เรื่องการห้ามแบ่งจําหน่ายในทุกกรณี ทั้งนี้จากข้อค้นพบของ งานวิจัยนี้ พบว่า มีการแบ่งขายบางกรณีที่สามารถทําได้ และ ควรมีการศึกษาพฤติกรรมการจําหน่ายบุหรี่ในแหล่งสถานที่ซึ่งเป็น แหล่งรวมของเยาวชน ได้แก่ ร้านเกมส์เพื่อให้ทราบถึงวิธีการส่งเสริมการขาย และการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

WHO. Report on the Global Tobacco Epidemic,The MPOWER package; 2008.

ประกิด วาทีสาธกกิจ.สู้เพื่อไทยไร้ควันบุรี่:บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์.สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน: 2549.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. การเฝ้าระวังการบริโภคยาสุบของเยาวชน. จัดพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ "บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7กรุงเทพฯ : ดีเจริญมั่นคงการพิมพ์ 2551.

มณฑา เก่งการพานิช และ ลักขณาเติมศิริกุลชัย.ประสิทธิผลของภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ในทัศนะของเยาวชนไทย. วารสารควบคุมยาสูบ. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2551. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2551.

ลักขณา เดิมศิริกุลชัย และ คณะ ลงหลักปักฐานสกัดกั้นยาสูบ. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ; 2550

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบบุหรี่ โพลระบุชัดวัยรุ่นไทยเข้าถึงอบ มุข-สื่อลามกง่าย[Online].Available:http://www.ashthailand.or.th/thnews.php:2548.