อุบัติการณ์การดื้อต่อยาต้านไวรัสและความชุกของการกลายพันธุ์ของเชื้อเอชไอวี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเป็นสิ่งที่จําเป็น โดยมีเป้าหมายเพื่อทําให้ปริมาณไวรัสใน เลือดลดต่ําให้มากที่สุด แต่มักจะพบปัญหาการดื้อยาของเชื้อ ทําให้เกิดความล้มเหลวในการรักษาได้ การดื้อยาเกิด จากการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมของเชื้อ การนําข้อมูลการกลายพันธุ์มาใช้จึงเป็นทางเลือกในการวางแผนการ รักษาให้ดียิ่งขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอุบัติการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อ ในผู้ป่วยที่เคยได้รับยาต้าน ไวรัสแล้ว ที่ส่งเลือดมาตรวจระหว่างเดือนมกราคม 2551 - ธันวาคม 2555 จํานวน 16,857 ราย โดยทําการตรวจหา ปริมาณไวรัส และเมื่อพบมีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดมากกว่า 2,000 Copies/ml. จะทําการตรวจหาการดื้อยาต้าน ไวรัสของเชื้อด้วย ผลการศึกษาพบว่า สามารถตรวจพบตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัสทั้งหมด 3,428 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อย ละ 20.3 และสามารถนําไปตรวจหาการดื้อยาได้จํานวน 885 ตัวอย่าง โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณไวรัสอยู่ที่ 4.5 log10 มี ความชุกของการถูกหลอกว่ากินยาต้านไวรัสแล้วเฉลี่ยร้อยละ 18.5 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ต่อปี ผลการตรวจหา การดื้อยาพบว่า เชื้อดื้อยาในกลุ่ม Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NRTIS) รวมกับกลุ่ม NonNucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor (NNRTIs) มากที่สุด คือร้อยละ 59.2 และมีการตรวจพบตัวอย่างที่ไม่ ดื้อยาร้อยละ 18.9 และเมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดของตําแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลง พบว่า ตําแหน่งที่เชื่อมีการ เปลี่ยนแปลงมากที่สุด 5 ลําดับ คือ M184V 589 (66.6), Yi81C 379 (42.8), G190A 231 (26.1), D67N 191 (21.6) และ T215F 186 (21.0) ตามลําดับ แต่เมื่อดูการดื้อยาของเชื้อจากรายงาน ตรวจพบการดื้อยา Nevirapine (NVP) มาก ที่สุด รองลงมาคือ Lamivudine (STC) และ Efavirenz (EFV) ความชุกของการดื้อยาของเชื้อในกลุ่มตัวอย่างที่ส่ง ตรวจหาปริมาณไวรัส มีประมาณ 42.5 ต่อพันประชากร และมีอุบัติการณ์การเกิดเชื้อดื้อยารายใหม่ในกลุ่มตัวอย่างที่ ตรวจพบปริมาณไวรัสหลังจากกินยาต้านไวรัส ไปแล้ว เท่ากับ 2.9 คนต่อปี ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนําไปใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้การกินยาไม่ สม่ําเสมอ และการขาดการกินยา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
Chasombat S, Lertpiriyasuwat C, ThanprasertsukS, et al. The National Access to Antiretroviral
Program for PHA (NAPHA) in Thailand. SoutheastAsian Journal of Tropical Medicine and Public
Health. 2006 Jul; 37 (4): 704-715.
สมนึก สังฆานุภาพ , ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์,นรินทร์ หิรัญสุทธิกุลล, ฤดีวิไล สามโกเศศ, ธิดาพร
จิรวัฒนะไพศาล. แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี่และผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ.
/2550. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: มีนาคม 2550.
Francois Clavel, M.D., and Allan J. Hance, M.D.HIV Drug Resistance. N Engl J Med. 2004 Mar,
(10): 1023-1035.
Oliver AR, Pereira SF, Clark DA. Comparativeevaluation of the automated Roche Taq Man real-
time quantitative human immunodeficiency virustype 1 RNA PCR assay and the Roche
AMPLICOR Version 1.5 conventional PCR assay.J Clin Microbiol. 2007 Nov; 45 (1 1) : 3616-9.
Grant RM, Kuritzkes DR, Johnson VA, MellorsJW, Sullivan JL, Swanstrom R, et al.Accuracy of the TRUGENE HIV-I genotypingkit. J Clin Microbiol. 2003 Apr; 41 (4):
-93.
Sturmer M, Berger A, Preiser W. HIV-1genotyping: comparison of two commercially available assays. Expert Rev Mol Diagn. 2004May; 4 (3): 281-91
Martin SH, Huldrych FG, Jonathan MS,et al. Antiretroviral Drug Resistance Testing in Adult HIV-1 Infection: 2008 Recommendations of an International AIDS Society-USA Panel. Clinical Infectious Diseases 2008; 47: 266-85.
Joel E. Gallant. Perspective - Antiretroviral Drug Resistance and Resistance Testing. Topic in HIV
Medicine 2006 Jan: 13(5): 138-142.
ZHANG F, Maria A, Jessica H and ZHAO Y.Medical progress : Overview of HIV drug resistance and its implications for China. Chinese Medical Joumal 2006; 1 19(23) : 1999-2004
Hillard SW, Irum Z, Walid H, et al. The Epidemiology of Antiretroviral Drug Resistance among Drug-Naive HIV-1-Infected Persons in 10 US Cities. The Journal of Infectious Diseases 2004;
: 2174-80.
วสันต์ จันทราทิตย์ การตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสด้วยเทคนิคอณูชีววิทยาและชีวสารสนเทศ. ใน: วสันต์ จันทราทิตย์, บรรณาธิการ.การเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีด้วยเทคโนโลยือญชีววิทยาชีวสารสนเทศและเภสัชพันธุศาสตร์. กรุงเทพ กราฟฟิก ฮัท 2550: 36-
Standford University [Internet). California : HIVDrug Resistance Database [Updated 2008 July 3 1;cited 2009]. Available from :http://hivdb.stanford.edu/index.html
Tee KK, Kamarulzaman A, Ng KP. Prevalence and pattern of drug resistance mutations among
antiretroviral-treated HIV-1 patients with suboptimal virological response in Malaysia. Med Microbiol Immunol 2006 Jun: 195(2): 107-12.