การวิเคราะห์กระบวนการประเมินกิจกรรมในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมตามเกณฑ์มาตรฐาน ศูนย์สุขภาพชุมชน : กรณีศึกษา : 1 จังหวัด ในภาคเหนือ

Main Article Content

ปราโมทย์ เย็นบุญธรรม
ธนิสร์ ปทุมานนท์
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การวิเคราะห์กระบวนการและประเมินกิจกรรมในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมตาม เกณฑ์มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนใน 1 จังหวัดในภาคเหนือ ทําการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน, ตัวแทนภาคประชาชน และผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์เพื่อ ประเมินประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรค โดยได้ตั้งเกณฑ์เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การ ค้นหาปัญหา, ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน, ขั้นตอนที่ 3 การดําเนินงาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล เก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน 2554 - 31 ตุลาคม 2555 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน มีประสบการณ์ขั้นตอนการดําเนินงาน มากที่สุด ร้อยละ 67.8 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่เข้าใจความหมายการดําเนินงานแบบมีส่วนร่วม และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามี ส่วนช่วยเหลือ และมีประสบการณ์น้อยที่สุดในขั้นตอนการประเมินผล ร้อยละ 43.2 แสดงให้เห็นว่ามีการเปิดโอกาสให้ ตรวจสอบการทํางานน้อย ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างตัวแทนภาคประชาชน พบการมีประสบการณ์ในขั้นตอนการ ดําเนินงาน มากที่สุด ร้อยละ 93 และมีประสบการณ์ในการค้นหาปัญหาน้อยที่สุด ร้อยละ 25.21% แสดงให้เห็นว่าตัวแทน ภาคประชาชนมีความตื่นตัวในการร่วมกิจกรรมแต่ยังไม่สามารถระบุปัญหาในชุมชนของตนได้ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า มีประสบการณ์ในขั้นตอนการดําเนินงานมากที่สุด ร้อยละ 65.4 % และน้อยที่สุด ในขั้นตอนการประเมินผล ร้อยละ 48.6 แสดงให้เห็นการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดําเนินการมากแต่มีการตรวจสอบ น้อย ในส่วนในส่วนของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน พบว่ามีเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมีประสบการณ์ด้านการ วางแผนและการดําเนินงาน แต่ไม่มีการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมเลย แสดงถึงความไม่เข้าใจในความหมายของการมีส่วน ร่วม ผลการศึกษาในกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าเข้าเกณฑ์การทํางานแบบมีส่วนร่วม ร้อยละ 28 แสดงให้เห็นว่าการประเมินยังไม่ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแนวคิดการมีส่วนร่วม ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติการพบว่าปัญหาและอุปสรรคคือ ประชาชนไม่ให้ความสําคัญ ขาดความรู้ในการจัดการวางแผนแก้ไขปัญหา ในส่วนความคิดเห็นของประชาชนพบว่า เจ้าหน้าที่ควรออกพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. ปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย. ม.ป.ท.. ม.ป.พ. : 2547

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. รายงานประจำปี 2552. พิษณุโลก: สำนักงานสาธารณสุข

จังหวัดพิษณุโลก; 2552.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. ประชาสังคมกับการพัฒนาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ; 2540.

อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์ ; 2527.

วิลาวัณย์ เสนารัตน์ และคณะ. ความคิดเห็นของทีมบริการสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2545.