ความคิดเห็นของผู้บริหารกลุ่มงานประกันสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ต่อประกันสุขภาพของบุคคลไร้รัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารกลุ่มงานประกันสุขภาพ สํานักงาน สาธารณสุขจังหวัดต่อประกันสุขภาพของบุคคลไร้รัฐ และ 2) ศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการ ดําเนินนโยบาย ภายหลังดําเนินนโยบายไปได้ 3 ปี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร/ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มงานประกัน สุขภาพ 76 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค 2) ด้านสื่อสารประชาสัมพันธ์ 3) ด้านเข้าถึงหลักประกันสุขภาพและบริการสุขภาพ 4) ด้านบริหาร จัดการงบประมาณ 5) ด้านสังคม และ 6) ด้านข้อมูลบุคคลไร้รัฐ ดําเนินการศึกษา ในปี พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และสัดส่วนร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นภาพรวม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับการมีหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลไร้ รัฐ โดยด้านที่เห็นด้วยอย่างยิ่งมีสัดส่วนสูงถึง ร้อยละ 94.12 คือ การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพและบริการสุขภาพ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สําหรับด้านสังคมมีผู้ให้ความเห็นเชิงลบในประเด็นการให้หลักประกันสุขภาพกับ บุคคลไร้รัฐ ทําให้มีการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 91.18 ปัญหา อุปสรรคที่ได้จากการ สัมภาษณ์ ภายใต้ 6 ด้าน ที่สําคัญคือ การชี้แจงและสนับสนุนคู่มือแนวทางการดําเนินงานไม่เพียงพอ การ ดําเนินงานควบคุมป้องกันโรคทําได้ลําบาก ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างที่สําคัญคือ จัดประชุมชี้แจงและ สนับสนุนคู่มือแนวทางการดําเนินงานให้เพียงพอ ทันสมัยและทันเวลา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ที่ เกี่ยวข้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
บงกช นภาอัมพร. ในชุดวิจัยย่อยโครงการ ศึกษาความคาคหวังของประชาคมระหว่างประเทศต่อรัฐไทยในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองสิทธิในหลักประกันสุขภาพของคนไร้รั ฐไร้สัญชาติภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทยโดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(เพื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข):2551.
ครุณี ไพศาลพาณิชย์กูล. โครงการประสานงานวิชาการเพื่อการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสิทธิในหลักประกันสุขภาพคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทย ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทยโดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนา
หลักประกันสุขภาพไทย(เพื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข); 2551.
อมรรัตน์ พีระพล.ความคิดเห็นของข้าราชการโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคกลางต่อการประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) สาขารัฐศาสตร์ภาควิชารั ฐศาสตร์และรัฐ ประศาสนศาสตร์]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: 2549.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานกองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิ ทธิและหารูปแบบการทำรายงาน.โรงเรมมารวยกรุงทพฯ วันที่ 10- 12 กันยายน 2555.
จิราวรรณ วรรณเวก, อุบลวรณ ปัญญากาศ, ประสงค์โลโท. สถานการณ์และภาวะการเจ็บป่วยแรงงานต่างชาติ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่:2542.
จุทิมาศ สุกใส. สถานการณ์การดำนินการของโรงพยาบาลเพื่อการเข้าถึงสุขภาพ และการสร้างหลักประกัน สุขภาพทางเลือกสำหรับคนไร้รัฐ/ร้สัญชาติ ภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงน โยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทยโดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย: 2551.
กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.คู่มือแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 มีนาคม 2553 การให้สิทธิ(คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มี
วรเดช จันทรศร. จกนโยบายสู่การปฏิบัติ: องค์ความรู้ตัวแบบทางทฤษฎี และการประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลว. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิก:2551.
ปั่นแก้วอุ่นแก้ว สถานการณ์การเข้าถึงและการใช้บริการสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทยภายใต้ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงน โยบายหลักประกันสุขภาพของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทยโดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2551.
อัมราภรณ์ จรจันทร์. การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับแรงงานต่างด้าวกรณีศึกษา : อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย : 2550.
สันติพงย์ มูลฟอง. ผลกระทบจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การบริหารแรงงานต่างค้าวทั้งระบบต่อบุคคลที่ยัง
ไม่ได้รับสัญชาติไทย (ไม่ใช่สัญชาติ ลาว กัมพูชา พม่า) ในอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน; 2553.
สติพร ตัชณานุสรณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักยณะส่วนบุคคล แบบแผนการดำเนินชีวิตกับสภาวะทาง สุขภาพของแรงงานต่างชาติ ในจังหวัดสมุทรสาคร: กรณี ศึกษาในโรงพยาบาลสมุทรสาครวิทยานิพนธ์ปริญญาโท].มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.