ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ ตําบลคลองตาล อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

นุกูล เลิศจันทรางกูร
รุจิรา หมื่นรักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการดําเนิน ชีวิตประจําวันผู้สูงอายุ ตําบลคลองตาล อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตตําบล คลองตาล จํานวน 250 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) พฤติกรรมสุขภาพ 3) ความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ร้อยละสถิติ เชิงอนุมาน ด้วย T-test และ One-way ANOVA


ผลการวิจัย พบว่า ร้อยละ 65.2 เพศหญิง ร้อยละ 50.0 อายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 55.6 จบการศึกษาใน ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 42.0 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 1,000-1,500 บาท ร้อยละ 60.8 มีรายได้จากรายได้ของ ตนเอง ร้อยละ 62.4 มีสถานะทางการเงินพอกินพอใช้ ร้อยละ 53.2 มีโรคประจําตัวอย่างน้อย 1 โรค ร้อยละ 17.6 ดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 6.3 สูบบุหรี่ ร้อยละ 3.2 เคี้ยวหมาก ร้อยละ 17.6 มองเห็นไม่ปกติ ร้อยละ 15.6 เดินได้ ไม่ปกติ ร้อยละ 8.8 มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และพบว่า ร้อยละ 96.4 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 2.8 เป็น กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน และร้อยละ 0.08 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียง ผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในด้านความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน พบว่า ช่วงอายุ ระดับการศึกษา การมองเห็น การเดิน ปัญหา สุขภาพช่องปาก ที่แตกต่างกันมีความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ สถานภาพสมรส อาชีพปัจจุบัน สถานภาพทางการเงิน การรับประทานยารักษาโรค ประจําตัว การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมากที่แตกต่างกันมีความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวันไม่แตกต่างกัน จาก ผลการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสํารวจเพื่อแบ่งผู้สูงอายุออกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และวิเคราะห์หาสาเหตุที่ติดบ้าน ติดเตียงพร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขจากผู้สูงอายุติดบ้านเป็นติดสังคมและจากติดเตียงเป็นติดบ้าน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี255 1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ : 2551.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์. อนาคตประเทศไทยกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สืบคั้นเมื่อวันที่ 12เมษายน พ.ศ.2553 จาก

http://www.cps.chula.ac.th/html_thpop_base/ageing/ageing_096.htm ; 2553.

World Health Organization. Integrating poverty and gender into health programmes: a sourcebook

for health professionals: module on ageing.Regional Office for the Western Pacific ; 2006.

Margaret S. and Westaway. The impact of chronic diseases on the health and well-being of South Africans in carly and later old age. Retrieved January 15,2010, from www.elsevier.com/locate/archger;2009.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, นภาพร ชโยวรรณ, และศศิพัฒน์ ยอดเพชร.การทบทวนองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.

Yamane, Taro. Statistics: An introduction Analysis. 3rd ed. New York: Harper And Row ;1973.

นภาพร ศึกเสือ. การดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลาน. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : 2547.

จินตนา ศรีธรรมา. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น : 2539.

สมสัน แก้วระยะ. ความสัมพันธ์ระหว่างปังจัยส่วนบุคคล ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุกับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองจังหวัด จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2552.

ธาริน สุขอนันต์. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2554 ; 3 : 240-249.

เสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง.วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2555; 2 : 68-81.