การศึกษาบรรยากาศภายในองค์กรของสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์กรและความคิดเห็นต่อความสําคัญ ของบรรยากาศองค์กร ช่องว่างระหว่างความคิดเห็นกับความสําคัญของบรรยากาศองค์กร และเปรียบเทียบความ แตกต่างของความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์กรและความคิดเห็นต่อความสําคัญของบรรยากาศองค์กรระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสังกัดสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก ปีงบประมาณ 2555 จํานวน 270 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test) และ สถิติ ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อบรรยากาศองค์กรของภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้าน พบว่า ด้านวัฒนธรรม ภาวะผู้นํา การอุทิศงานและความมุ่งมั่นในงานที่ทํา การทํางานเป็นทีม และด้าน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ความสําคัญของบรรยากาศภายใน องค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้านพบว่า ด้านวัฒนธรรม ภาวะผู้นํา การทํางานเป็นทีม การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนา มีความสําคัญอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการอุทิศงานและความมุ่งมั่นในงานที่ทํา มีความสําคัญอยู่ในระดับมาก 2) ช่องว่างระหว่างความคิดเห็นกับความสําคัญของบรรยากาศภายในองค์กร มี ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ระดับ 0.30 3) ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์กร ระหว่างเพศในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์กร ระหว่างอายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และความคิดเห็นต่อความสําคัญของบรรยากาศองค์กร ระหว่างเพศ อายุ สถานภาพ และ ระดับการศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
อรุณ รักธรรม. การบริหารและการจัดองค์การ.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2534.
ขนิษฐา กุลกฤษฎา. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2539.
วุฒินนท์ วิมลศิลป์. บรรยากาศองค์การ กับความพอใจในงาน ของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2533.
สุธิดา รัตนวาณิชย์พันธ์. บรรยากาศองค์การ กับความพอใจในงานของพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน : จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ; 2538.
เกษม สาหร่ายทิพย์. ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่3.นครสวรรค์: โรงพิมพ์นิวเสรีนคร; 2543.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องคั่น. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น: 2545.
นุชรี อาบสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจ ในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคมจังหวัดอุตรธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
ชนเนษฎ์ มีแสง. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะและบรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในงาน ของพนักงานโรงแรมในอำเภอเกาะสมุยจังหวัดสุราษฏร์ธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2547.
ประสพ อินสุวรรณ. บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีที่ 20ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2557; 2557.
ทัศนีย์ ทินราช. บรรยากาศองค์การในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
อธิป ศรีเปารยะ, เทวินทร์ เจริญวงศ์ และพลสิทธิ์เมฆรักษาวนิช. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน โรงแรมเวสทิน แกรนด์สุขุมวิท. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการโรงแรมและ
ภัตตาคาร) วิทยาลัยอุสิตธานี; 2554.
สุเชษฐ์ พันธ์แก้ว. บรรยากาศการปฏิบัติงานของบุคลากรที่สังกัดเทศบาลตำบลในจังหวัด
สิริวรรณ ไพศาลวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพืงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลนครราชสีมา.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (กศ.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.
สมยศ นาวีการ. ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : บรรณกิจ; 2544.
Schneider, B. Climate and culture: An evolutionofconstructs. In B. Schneider (Ed.),Organisationalclimate and culture (pp. 5-30). San Francisco, CA:Josscy-Bass; 1990.
Steers, R.M., & Porter, L.W. Motivation and workbehavior. New York: Mcgraw-Hill; 1979.