ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลานในจังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ปรียา ภาชนะพรรณ
ประสิทธิ์ เนียมกําเนิด
คัชรินทร์ ลวดลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของ การผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลานในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการส่งเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลานระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมโปแกรมการส่งเสริมสุขภาพทั้งภายในกลุ่มและ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และรับภาระเลี้ยงดูหลานในจังหวัดสุโขทัย พื้นที่ในการ ศึกษาวิจัยได้แก่อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรสูงอายุมากสุดแห่งหนึ่ง การวิจัยนี้ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลอง ตําบลวังลึก อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัยและกลุ่ม เปรียบเทียบได้แก่ ตําบลวัดเกาะ อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย โดยคัดเลือกผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูหลานด้วยการสุ่ม แบบมีระบบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของสูงอายุที่เลี้ยงดูหลานโดยประยุกต์ทฤษฎีส่งเสริมสุขภาพของแพนเดอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ independent t-test และ pair t-test


ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม การดูแลสุขภาพไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value <.05) แต่หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่ม ทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนการ เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value <.05) ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน และหลังการเข้า ร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value <.05)

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยพ.ศ.2556.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี พ.ศ. 2557.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์.ความเป็นธรรมและการเข้าถึงบริการทางสุขภาพที่จำเป็นของผู้สูงอายุสถาบันวิจัยประชากรและสังคม.มหาวิทยาลัยมหิดล,2554.

สุวิถี วิวัฒน์วานิชและคณะ.โครงการสถานการณ์ความยากจนในผู้สูงอายุและรูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอาย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2551.

วิภาพร สิทธิสาตร์,สุชาดา สวนนุ่ม.พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สถาบันบรมราชชนกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,2550.

คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการสภาผู้แทนราษฎร.การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรฌาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1).สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,2553.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข.อาหารทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ, พิมพ์ที่โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด,2545.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมพัฒณาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กลุ่มภารกิจค้านพัฒนาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป. พิมพ์ที่โรงพิมพัชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.2557.

สุรีย์ ธรรมิกบวร. ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ สืบค้นจาก htp://www.nurse.ubu.ac.th/sub/(knowledgedetai/PD.pdf เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558

เสน่ห์ แสงเงิน รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร 2558