ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบรรลุผลกระบวนการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตาม ของผู้รับการบําบัดยาเสพติด จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบรรลุผลกระบวนการบําบัดรักษาผู้เสพ ยาเสพติด ในจังหวัดพะเยา โดยมุ่งเน้น รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) ของกระทรวงสาธารณสุข และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการกระจายค่าความถี่แบบร้อยละ และหาความสัมพันธ์ ด้วยการทดสอบ Chi-square และ Fisher's Exact Test กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 8,408 ราย ที่เข้ารับการบําบัดยาเสพติดในหน่วยงานสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดพะเยา ในช่วงปีงบประมาณ 2551 - 2556 พบว่า สามารถอยู่จนครบ กระบวนการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตาม ร้อยละ 50.7 ในขณะที่ได้รับการรักษาครบและได้เข้าสู่ กระบวนการติดตามแต่ได้รับการติดตามไม่ครบ ร้อยละ 23.9 ได้รับการรักษาครบแต่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการติดตาม ร้อยละ 9.8 และ ได้รับการรักษาไม่ครบ ร้อยละ 15.6 โดยกลุ่มที่ได้รับการรักษาและติดตามจนครบเกณฑ์สามารถ เลิกและหยุดการใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 82.1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับการบรรลุผลกระบวนการบําบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และติดตามผู้เสพยาเสพติดที่สําคัญได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา เหตุผลที่เข้า รับการบําบัด และสถานะการเสพติด โดยผู้รับการบําบัดเพศชาย ผู้ที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปี และสูงกว่า 50 ปี ผู้ที่มี สถานภาพสมรส ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ผู้ที่เข้ารับการบําบัดด้วยการสนับสนุนจากครอบครัวหรือ โรงเรียน ผู้ที่ไม่มีอาการทางจิตร่วม ผู้ที่เข้ารับการบําบัดครั้งแรก และมีสถานะเป็นผู้เสพแต่ไม่ถือว่าเป็นผู้ติดหรือติด ยาเสพติดรุนแรง มีอัตราการบรรลุผลการบําบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามจนเสร็จสิ้นทั้งกระบวนการสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนผู้รับการบําบัดที่อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 20-29 ปี และกลุ่มที่มารับการบําบัดเนื่องจาก ถูกจับกุม มีอัตราการไม่ได้รับการจําหน่ายตามเกณฑ์หรือถอนตัวในขั้นตอนการบําบัดสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบรรลุผลกระบวนการบําบัดรักษาผู้เสพ ยาเสพติด ในจังหวัดพะเยา โดยมุ่งเน้น รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด (บสต.) ของกระทรวงสาธารณสุข และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการกระจายค่าความถี่แบบร้อยละ และหาความสัมพันธ์ ด้วยการทดสอบ Chi-square และ Fisher's Exact Test กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 8,408 ราย ที่เข้ารับการบําบัดยาเสพติดในหน่วยงานสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและกระทรวงยุติธรรมในจังหวัดพะเยา ในช่วงปีงบประมาณ 2551 - 2556 พบว่า สามารถอยู่จนครบ กระบวนการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตาม ร้อยละ 50.7 ในขณะที่ได้รับการรักษาครบและได้เข้าสู่ กระบวนการติดตามแต่ได้รับการติดตามไม่ครบ ร้อยละ 23.9 ได้รับการรักษาครบแต่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการติดตาม ร้อยละ 9.8 และ ได้รับการรักษาไม่ครบ ร้อยละ 15.6 โดยกลุ่มที่ได้รับการรักษาและติดตามจนครบเกณฑ์สามารถ เลิกและหยุดการใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 82.1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับการบรรลุผลกระบวนการบําบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และติดตามผู้เสพยาเสพติดที่สําคัญได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา เหตุผลที่เข้า รับการบําบัด และสถานะการเสพติด โดยผู้รับการบําบัดเพศชาย ผู้ที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปี และสูงกว่า 50 ปี ผู้ที่มี สถานภาพสมรส ผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ผู้ที่เข้ารับการบําบัดด้วยการสนับสนุนจากครอบครัวหรือ โรงเรียน ผู้ที่ไม่มีอาการทางจิตร่วม ผู้ที่เข้ารับการบําบัดครั้งแรก และมีสถานะเป็นผู้เสพแต่ไม่ถือว่าเป็นผู้ติดหรือติด ยาเสพติดรุนแรง มีอัตราการบรรลุผลการบําบัดรักษา ฟื้นฟู และติดตามจนเสร็จสิ้นทั้งกระบวนการสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนผู้รับการบําบัดที่อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 20-29 ปี และกลุ่มที่มารับการบําบัดเนื่องจาก ถูกจับกุม มีอัตราการไม่ได้รับการจําหน่ายตามเกณฑ์หรือถอนตัวในขั้นตอนการบําบัดสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
United Nations Office of Drugs and Crime. World Drug Report 2014. New York: United Nations; 2014.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด: 2558.
ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดพะเยา (ศพส.จ.พะเยา) .บรรยายสรุปการคำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติคจังหวัดพะเยาปีงบประมาณ 2557.พะเยา;2557 : 1-7
นิสิตา ทาสุวรรณ, สุวรรณา จังกำ, สุพาภรณ์ สุยะสืบ,จันทนา ชุ่มเย็น, สุนิสา ศรีลา, อทิวราห์ จันฟู, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, อัมพิกา จันต๊ะ, บุณยานุช เดชบริบูรณ์,กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. สถานการณ์การใช้สารเสพติดของผู้เข้ารับการบำบัดในจังหวัดตาก ระหว่างปี พ.ศ.2553-2555. วารสารการแพทย์สาธารณสุขเขต 2 25573 2: 26-33
จิระ ฉลาดธัญญกิจ, มงคง มีครอง, พงษ์ศักดิ์ เชาว์น้อย ผัฐวุฒิ ทองพลับ, บุญยานุช เคชบริบูรณ์, กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการบำบัดสารเสพดิด จังหวัดตากปีงบประมาณ 2555. สำปางเวชสาร 2557: 35 (มกราคม-มิถุนายน 2557): 11:19.
สุพร กาวินำ, จรรยา ใจหนุน, บุณยานุช เคชบริบูรณ์.ลักษณะของผู้รับการบำบัดสารเสพติดที่เป็นเด็กและ
เยาวชนในจังหวัดตาก ปิ๊งบประมาณ 2553-2555.วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 9 พิษณุโลก
(เมษายน-กันยายน 2557): 1-11.
ธนิตา หิรัญเทพ, อุมาพร อุคมทรัพยากุล, รณชัย คงสกนธ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดช้ำในผู้
เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 25563 58(2): 157-164.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. รายงานประจำปี 2551. ปราจีนบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี: 2551.
สุมาลี ฝ่ายริพล,การพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ป่วยยาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ ของโรงพยาบาลสันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่.(2553).วารสารการประชุมวิชาการยาเสพลิคแห่งชาคิครั้งที่ 11: เรื่องรู้สึก รัจริง รู้ทันยาเสพติด
:89-90.
Brorson, H.H., Ajo, A.E., Rand-Hendriksen, K.,Duckert, F. (2013). Dropout from Addiction
Treatment: A Systematic Review of Risk Factors.Clinical Psychological Review 33(8): 1010-1024.
Veach, L.J., Remley, T.P., Kippers, S.M., Sorg,J.D. (2000). Retention Predictors Related to Intensive
Outpatient Programs for Substance Use Disorders. TheAmerican Joumal of Drug and Alcohol Abuse 26(3):417-428.
Stevens, A., Radeliffe, P., Sanders, M., Hunt, N.(2008). Early Exit Estimating and Explaning EarlyExit from Drug Treatment. Harm Reduction Journal5(13) doi:10.1186/1477-7517-5-13
Simpson, D.D, Joe, G.W., Rowan-Szal,G.A.,Greener, J.M. (1997). Drug Abuse Treatment ProcessComponents that Improve Retention. Joumal of Substance Abuse Treatment 14(6): 565-572.