ระยะเวลาในการจําหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัดและได้ยาระงับความรู้สึก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระยะเวลาในการจําหน่ายผู้ป่วยจากห้องพักฟื้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลเป็นตัวชี้วัดงานคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยและมีระยะเวลาที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาใน การจําหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลน่านที่เข้ารับบริการงานห้องพักฟื้นเดือน สิงหาคม 2557 จํานวน 306 ราย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลด้วยตัวเองร้อยละ 70 และพยาบาลวิชาชีพประจําห้องพักฟื้น 2 ท่านร้อยละ 30 โดยการสังเกตและบันทึกโดยใช้แบบรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. แบบ บันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย 2. แบบสังเกตระยะเวลาที่ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการห้องพักฟื้น 3. แบบสังเกต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการจําหน่ายผู้ป่วยจากห้องพักฟื้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผล การศึกษาพบว่า 1.ระยะเวลาที่ใช้ในการจําหน่ายผู้ป่วยจากห้องพักฟื้นมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 10 นาที พยาบาลห้องพักฟื้น เตรียมความพร้อมผู้ป่วยในการจําหน่ายมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3.34 นาทีหอผู้ป่วยพร้อมรับการจําหน่าย มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 10.26 นาที พนักงานเปลพร้อมนําส่งผู้ป่วยเวลา 10.30 นาที และหน่วยงานวินิจฉัยหลังการผ่าตัดให้บริการ มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 25.24 นาที 2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการจําหน่ายผู้ป่วยจากห้องพักฟื้นโรงพยาบาลน่านๆเกิดจากความไม่ พร้อมของหน่วยที่เกี่ยวข้องเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ได้แก่ พนักงานเปล หอผู้ป่วยใน พยาบาลห้องพักฟื้น ผู้ป่วยใน วิสัญญีแพทย์ หน่วยงานวินิจฉัยหลังการผ่าตัด ศัลยแพทย์ คิดเป็นร้อยละ74.80 ,71.60, 12.40 , 7.80, 7.50 ,1.60 ,1.30 และ 0.30 ตามลําดับ ดังนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนํามาพัฒนาการดูแล และการบริหารจัดการงานห้องพักฟื้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในบริบทของโรงพยาบาลน่าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
กนกพร คุณาวิศรุศ. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน: พรอรุณ สิริ โชติวิทยากร, สุวรรณี สุรเศรณีวงค์,
มะถึ รุ่งเรืองวานิช, มาณี รักษาเกียรติศักดิ์, บรรณาธิการ.ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3
กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์; 2552. หน้า 306 - 320.
พุทฒิพรรณี วรกิจโภคาทร. การดูแลผู้ป่วยวิกฤติหลังผ่าตัด.ใน: อังกาบ ปราการรัตน์ และวรภา สุวรรณจินดา,
บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2548. หน้า 601 - 643.
จริยา เลิศอรรฆมณี. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น, ใน: วรภา สุวรรณจินดา และอังกาบ ปราการรัตน์,
บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยาวิสัญญีวิทยาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิคล.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์: 2549. หน้า 743 -754.
Aldrete, J.A., & Korulik,D. A postanesthetic recovery score. Anesthetic recovery score. Anesthesia &
Analgesia 1970;49:924 -934.