การเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก โดยเครื่องเอกซเรย์ในช่องปากระบบไฟฟ้ากระแสสลับกับกระแสตรงและระบบฟิล์มกับคอมพิวเตอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากผู้ป่วย มีความจำเป็นสำหรับวินิจฉัยและรักษาโรค
ในช่องปาก ควรใช้ปริมาณรังสีน้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก ศึกษาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากผู้ใหญ่และเปรียบเทียบปริมาณรังสีเครื่องเอกซเรย์ในช่องปากระบบไฟฟ้ากระแสสลับกับกระแสตรง และระบบฟิล์มกับคอมพิวเตอร์ ศึกษาแบบพรรณา จากข้อมูลโรงพยาบาลและคลินิกทันตกรรม
ในจังหวัดพิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย จำนวน 80 เครื่อง ระหว่างพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2564 ใช้เครื่องวัดรังสีชนิดโซลิดสเตทวัดปริมาณรังสี วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย,
ค่าควอไทล์ที่ 3 และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) พบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีฟันกรามบนผู้ป่วยผู้ใหญ่ มีค่าควอไทล์ที่ 3 ของกลุ่มเท่ากับ 4.0 mGy และเครื่องเอกซเรย์ระบบไฟฟ้ากระแสสลับกับกระแสตรง เท่ากับ 6.0 และ 2.8 mGy ตามลำดับ ส่วนระบบฟิล์มกับคอมพิวเตอร์ มีปริมาณรังสีเท่ากับ 6.0 และ 2.7 mGy ตามลำดับ ผลเปรียบเทียบพบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value <0.05) และเครื่องเอกซเรย์ระบบไฟฟ้ากระแสตรงปริมาณรังสีลดลงมากสุด 53.3% จากการถ่ายภาพรังสีฟันกรามบนและระบบคอมพิวเตอร์ปริมาณรังสีลดลงมากสุด 55.3 % จากการถ่ายภาพรังสีฟันเขี้ยวบน ผลการศึกษาครั้งนี้ ใช้เป็นข้อมูลเลือกเครื่องเอกซเรย์ระบบไฟฟ้ากระแสตรงและระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดปริมาณรังสีผู้ป่วยได้รับน้อยที่สุด
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. ICRP. International Commission on Radiological Protection. Diagnostic reference levels in medical imaging. review and additional advice. A web module produced by Committee 3 of the ICRP [online]. 2002 [cited 2021 Jan 24]; [14 screen]. Available from: URL: http://www.icrp.org/docs/DRL_for_web.pdf.
3. IAEA. International basic safety standards for protection against ionizing radiation and the safety of radiation sources. IAEA safety series No.115. Vienna: International Atomic Energy Agency; 1996.
4. NRPB. Guidance notes for dental practitioners on the safe use of X-Ray equipment. NRPB, Department of Health, Chilton, [online]. 2001 [cited 2021 Jan 25]; [58 screen]: Available from: URL: http://www.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/337178/ misc_pub_dentalguidancenotes.pdf
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟัน 2561 [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก : https:// www.dmscsmartlifeblog.com>userfiles>files.
6. นัฐิกา จิตรพินิจ. ปริมาณรังสีผู้ป่วยจากการถายภาพรังสีฟันในช่องปากในเขตสุขภาพที่ 2.วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร 2 พิษณุโลก 2559; 4 (2): 9-21.
7. มารยาท โยทอง และผศ. ปราณี สวัสดิ์สรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย.ศูนย์บริการวิชาการสถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564]; เข้าถึงได้จาก: http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf
8. ศิริวรรณ จูเลียง, สุชาวลี เชื้อมหาวัน, จีราภรณ์ สงขาว, ศิริขวัญ ยิ้วเหี้ยง.ค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภาพในช่องปากในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564; 63(2) :423-432.
9. Japan Network for Research and Information on Medical Exposures. National Diagnostic Reference Levels in Japan 2020; [online]. 2020 [cited 2021 June 28]; Available from: URL: http://www.radher.jp/J-RIME/report/DRL2020_Engver.pdf
10. Jose A, Kumar AS, Govindarajan KN, Manimran P, Assessment of adult diagnostic reference levels in intraoral radiography in Tamil Nadu Region, India. [online]. 2020: [cited 2021 June 25]; Available from: URL: https://C:/Users/DMSC002/Downloads/rpd_ncaa069.pdf
11. Kim EK, Han WJ, Choi JW, Jung YH, Yoo SJ, Lee JS. Diagnostic reference levels in intraoral dental radiography in Korea. Imaging Sci Dent 2012; 42 (4):237-42
12. Hart D, Hillier MC, Shrimpton PC. Dose to patients from radiographic and fluoroscopic X-ray imaging procedures in UK-2010 review, HPA–CECA – 234. [online]. 2012 [cited 2021 June 28]; Available from: URL: https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/ file/342780/HPA-CRCE-034_Doses_to_patients_from_ radiographic_and_fluoroscopic_x_ray_imaging_procedures_2010.pdf
13. Heras R, Domingo E, Reference Doses for Dental Radiography. Assessorial y Control en Protection Radiological, [online]. 2012: [cited 2021 June 2]; Available from: URL: https://www.irpa.net/members/P07.99.pdf.
14. Food and Drung Administration. Dental radiographic examinations: recommendations for patientselection and limiting radiation exposure. [online]. 2012 [cited 2021 Jan 2]; [27 screen]:Available from: http://www.ada.org/~/media/ADA/Member%20Center/ FIles/Dental_Radiographic_Examinations_2012.ashx