การพัฒนาระบบการติดตามดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

เชิดศักดิ์ ศิริวัฒน์
พายัพ แสงทอง

บทคัดย่อ

การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัด โรงพยาบาลชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปี 2556-2559 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดเชิงปริมาณในคุณลักษณะความไวของระบบ ค่าพยากรณ์บวก คุณภาพของระบบ ความสามารถในการเป็นตัวแทนและความทันเวลา ประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัด เชิงคุณภาพ ในคุณลักษณะการยอมรับ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความมั่นคง และประโยชน์ของระบบ เฝ้าระวัง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคหัดสะท้อนให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหา แก่บุคลากรในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมิน สําหรับความจําเป็นในการศึกษาและประเมินระบบ ครั้งนี้ เนื่องจากโรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบกระบวนการเฝ้าระวังการรายงาน การเก็บสิ่งส่งตรวจและ การสอบสวนโรคตามเกณฑ์มาตรฐานโครงการกําจัดโรคหัดกรมควบคุมโรค โดยใช้วิธีศึกษาและขั้นตอน การประเมินดังนี้ ทบทวนกระบวนการขั้นตอนของระบบที่กล่าวมา ประเมินคุณสมบัติของระบบเฝ้าระวังโรค ในเชิงปริมาณ ตามลําดับดังนี้ ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคตามรหัส ICD10 ที่ป่วยด้วยโรคหัดและโรคที่ใกล้เคียงจํานวน 6 รหัสโรค ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2559 กําหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย และผู้ป่วยยืนยันโรคหัด เปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้จากการทบทวน เวชระเบียนกับนิยามที่กําหนด ประเมินความถูกต้องของข้อมูลในตัวแปรสําคัญที่กําหนด ประเมินคุณสมบัติของ ระบบเฝ้าระวังโรคหัดในเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เฝ้าระวัง ผลการประเมินเชิงปริมาณ ค่าความไวของระบบเฝ้าระวังร้อยละ 25.93 ค่าพยากรณ์ผลบวก ร้อยละ 63.63 คุณภาพของข้อมูลตัวแปรอาชีพถูกต้องน้อยที่สุด ร้อยละ 63.64 ความสามารถในการเป็นตัวแทน ของตัวแปรอาชีพและอายุผู้ป่วยมีแนวโน้มสอดคล้องและสามารถเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวังโรคได้ ความทันเวลาของการรายงานโรคภายใน 3 วัน ร้อยละ 63.64 การสอบสวนโรคและตอบสนองทันเวลา ภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 45.45 ผลการประเมินเชิงคุณภาพที่สําคัญ พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ เห็นความสําคัญและยอมรับเห็นคุณค่าของระบบเฝ้าระวังโรค แต่ควรมีการจัดประชุมชี้แจงในแนวทาง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคกับคนทํางานอย่างสม่ําเสมอและเข้าใจในมาตรฐานการปฏิบัติที่ตรงกัน ค่าความไว ของระบบอยู่ในเกณฑ์ความปรับปรุงและค่าพยากรณ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ เนื่องจาก การวินิจฉัยโรคของแพทย์ มีความจําเพาะสูงและค่าพยากรณ์ผลบวกผิดพลาดที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การประเมินผลระบบ เฝ้าระวังโรคหัดเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ครั้งนี้ ควรมีการปรับปรุงความไวของระบบเฝ้าระวังโรคในประเด็น ของการวินิจฉัยโรคผู้ป่วยที่เข้าได้กับนิยาม และการให้เจ้าหน้าที่เวชสถิติตรวจสอบข้อมูลรหัส ICD10 จากเวชระเบียนโดยตรง โรงพยาบาลควรมุ่งเน้นบริหารจัดการ การวินิจฉัยโรคของแผนกผู้ป่วยนอกเป็นหลัก ควรมีความยืดหยุ่นของช่องทางในการรายงานโรค เพิ่มกําหนดระยะเวลาของการรายงานโรค อีกประเด็นหนึ่ง ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานยังไม่ทราบนโยบายและแนวทางการดําเนินงานตามโครงการกําจัดโรคหัดที่ชัดเจน ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานควรมีการจัดประชุมชี้แจงควบคุมกํากับการดําเนินงานในระบบการสอบสวนเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อการควบคุมโรคหัดที่รวดเร็ว นําไปสู่การคืนข้อมูลปัญหาอุปสรรคที่พบทั้งหมด เพื่อวางแผน พัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. วรรณา วิจิตรและคณะ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดจังหวัดตาก ปี พ.ศ.2554.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาควิทยาประจำสัปดาห์. 2555 : 43 : 529-534
2. สำนักระบาควิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรระบาควิทยาและการบริหารจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์ หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก เล่มที่ 1.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข ;2559.

3. ปียนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาส. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรคการตรวจรักษาและส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ;2555.

4. World Health Organization. Who. Rapid Rapid Risk Assessment of Acutr PublicHealth Events. 2" ed. 2012.

5. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. หลักวิชาและการประยุกต์ระบาควิทยาสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่2. ครุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขของอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล : 2549.

6. คารินทร์ อารีย์โชคชัย. แนวทางฝ้ระวังสอบสวนทางระบาดวิทยาและการรายงานโรคหัด. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย : 2555.

7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข ;2555.

8. สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ.กรุงเทพมหานคร : บริษัทอีซีจำกัด ; 2557.

9. Abram s.Benenson, ed. Control ofCommunicable Discases Manual. 1h ed.Washington ; 2015.