การพัฒนาระบบการติดตามดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

กิตติพงษ์ เทียนประทีป

บทคัดย่อ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยยังคงมีอยู่เป็นจํานวนมาก ที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาด้วยยา ต้านไวรัสเอดส์และไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในกลุ่มดังกล่าวจึงมีความเสี่ยง ต่อการเกิดต่อโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและเสียชีวิตสูง งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจํานวน ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์กลุ่มนี้ในชุมชนกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ลงด้วยการกําหนดนโยบายสนับสนุน การทํากิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชนกับผู้ป่วยเอดส์ ร่วมกับการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการดูแล ผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลกงไกรลาศที่ชัดเจนขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 โดยใช้โปรแกรม HIVQUAL-T สําหรับคํานวณค่าดัชนีชี้วัดเชิงสถิติร่วมกับแบบสํารวจความพึงพอใจของผู้ป่วย ผลจากการวิจัยสรุปว่า นโยบาย ดังกล่าวช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยเอดส์มีการเข้าถึงการรับบริการยาต้านไวรัสเอดส์ได้รวดเร็วขึ้น ช่วยลด ความเสี่ยงของผู้ป่วยรายเดิมในการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและลดอัตราการตายลง รวมถึงอัตราการติดเชื้อ รายใหม่ลดลงด้วย แต่ค่ามัธยฐานของระดับเซลล์ CD4 ของผู้ป่วยขณะเริ่มการรักษา ยังคงมีค่าน้อยโดยอยู่ในช่วง ประมาณ 80-120 cells/nam เท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. วรรณา วิจิตรและคณะ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัดจังหวัดตาก ปี พ.ศ.2554.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2555 : 43 : 529-534

2. สำนักระบาควิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรระบาควิทยาและการบริหารจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์ หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก เล่มที่ 1.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข ;2559.

3. ปียนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาส. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรคการตรวจรักษาและส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ;2555.
4. World Health Organization. Who. RapidRapid Risk Assessment of Acutr PublicHealth Events. 2"' ed. 2012.

ร. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. หลักวิชาและการประยุกตัระบาควิทยาสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขของอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิคล ; 2549.

6. คารินทร์ อารีย์โชคชัย.แนวทางฝ้าระวังสอบสวนทางระบาดวิทยาและการรายงานโรคหัด. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2555.

7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข ;2555.

8. สำนักระบาควิทยากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ.กรุงเทพมหานคร : บริษัทอีซีจำกัด ; 2557.

9. Abram s.Benenson, ed. Control ofCommunicable Diseases Manual. 1'h ed.Washington ; 2015.