ต้นทุนต่อหน่วยของมาตรการควบคุมพาหะนําโรคมาลาเรียในพื้นที่จังหวัดตาก

Main Article Content

อุษารัตน์ ติดเทียน
วรวิทย์ ติดเทียน
ตามพงษ์ พงษ์นรินทร์
เสาวนีย์ ดีมูล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของมาตรการควบคุมพาหะนําโรคมาลาเรีย ในพื้นที่จังหวัดตาก เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในมุมมองของผู้ให้บริการ เก็บข้อมูลการศึกษาย้อนหลังของ ปีงบประมาณ 2554 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมพาหะนําโรค มาลาเรียในหน่วยงาน 20 แห่ง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิ โดยคัดลอกจากเอกสารหรือรายงานต่างๆ ได้แก่ แผนงาน โครงการ แผนปฏิบัติงาน บัญชีค่าวัสดุใช้สอย บัญชีค่าสาธารณูปโภค เพื่อใช้รวบรวมต้นทุนค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าสาธารณูปโภค ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ต้นทุน โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel รวบรวมค่าใช้จ่ายและคํานวณต้นทุน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของ การพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ชนิดตกค้าง มีต้นทุนรวม 4,469,931.68 บาท ต้นทุนของการใช้มุ่งชุบด้วยสารเคมี มีต้นทุนรวม 8,387,805.91 บาท เป็นงบประมาณปกติของกรมควบคุมโรค จํานวน 1,755,988.13 บาท และ งบประมาณ โครงการกองทุนโลก จํานวน 6,631,817.78 บาท เมื่อนําไปวิเคราะห์หาต้นทุนต่อหน่วย พบว่า ต้นทุนต่อหน่วยของการพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ชนิดตกค้าง พบว่าการพ่นบ้านหรือกระท่อม 1 หลังคาเรือน ใช้เงินเท่ากับ 112.12 บาท หรือประชาชนได้รับการพ่นสารเคมีรายละ 81.96 บาท ส่วนต้นทุนต่อหน่วยของ การใช้มุ่งชุบด้วยสารเคมี พบว่าการชุบมุ่งด้วยสารเคมี 1 หลังใช้เงินเท่ากับ 206.49 บาท หรือ ประชาชนได้รับ การชุบมุ่งรายละ 68.47 บาท ดังนั้นการพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ชนิดตกค้างมีต้นทุนรวมต่ํากว่าการชุบมุ่งด้วยสารเคมี โดยต้นทุนต่อหน่วยของการพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ชนิดตกค้าง ค่าใช้จ่ายมากกว่าครึ่งเป็นค่าวัสดุที่ใช้ในการจัดซื้อ สารเคมีสําหรับการพ่นบ้านและกระท่อมในพื้นที่ สําหรับต้นทุนต่อหน่วยของการใช้บุ้งชุบด้วยสารเคมี พบว่า ต้นทุนรวมของการใช้มุ่งชุบด้วยสารเคมีที่ใช้งบประมาณปกติมีต้นทุนรวมน้อยกว่าต้นทุนการใช้มุ่งชุบ ด้วยสารเคมีที่ใช้งบประมาณจากโครงการกองทุนโลก ส่วนใหญ่เป็นค่าวัสดุในการจัดซื้อสารเคมีเพื่อนํามา ชุบมุ่งและจัดซื้อมุ่งเพื่อแจกประชาชน การควบคุมพาหะนําโรคมีต้นทุนที่สําคัญคือการจัดซื้อสารเคมีสําหรับ การพ่นและการชุบมุ่งมีสัดส่วนมากกว่าต้นทุนอื่นๆ โดยปริมาณการใช้สารเคมีจะแปรผันตามลักษณะการ ระบาดของพื้นที่ หากจังหวัดใดมีพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อตลอดทั้งปี จะทําให้มีมาตรการการพ่นสารเคมีมีฤทธิ์ ตกค้าง แต่หากพื้นที่ใดมีการแพร่เชื้อบางฤดูกาลจะต้องกําหนดเป็นมาตรการชุบมุ่ง ดังนั้นข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนําไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนงบประมาณมาใช้เตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมาลาเรียตามลักษณะการระบาดของพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1) สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค .รายงานการเฝ้าระวังโรคมาลาเรีย. [ออนไลน์](2552). สืบค้นจาก
http://203.157.15.4/surdata/disease.php?ds=30 (4 ตุลาคม 2553)

2) สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคมาลาเรีย เดือน มกราคม 2553
(ข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม -ธันวาคม 2552) [ออนไลน์].(2552).สืบค้นจาก http:/www.thaivbd.org
malaria_monthly.php?year-2554&month=1 (16 สิงหาคม 2554)

3) กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลงสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก.ทะเบียนท้องที่ปฏิบัติงานควบคุมไข้มาลาเรียประจำปีงบประมาณ 2554

4) กรมควบคุมโรค. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมมาลาเรียในประเทศไทย ในรายงานทางวิชาการและแผนที่การศึกษาวิจัยกรมควบคุมโรค ปี พ.ศ.2548- ปี พ.ศ.2550:2549. หน้า 12-15.

5) อรนิภา เอี่ยมสำอางและคณะ.ค้นทุนประสิทธิผลการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย เปรียบเทียบระหว่าง
มาตรการใช้มุ้งชุบสารเคมีและการพ่นเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้าง.[ออนไลน์] (2551).สืบค้นจาก
http://kmddc.go.th/researchitem.aspx?itemid=4125(4 ตุลาคม 2553).