ปริมาณรังสีผู้ป่วยจากการถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากในเขตสุขภาพที่ 2

Main Article Content

นัฐิกา จิตรพินิจ

บทคัดย่อ

การถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากผู้ป่วย มีความจําเป็นสําหรับการวินิจฉัยและรักษาโรคในช่องปาก จึงต้องใช้รังสีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและปริมาณรังสีน้อยที่สุด เนื่องจากมีความเสี่ยงหลัก คือ โรคมะเร็งที่เกิดขึ้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทยที่ 2 พิษณุโลก ศึกษาปริมาณรังสีผู้ป่วยจากโรงพยาบาลและคลินิกฟัน ในเขตสุขภาพที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัยและตาก จํานวน 88 เครื่อง จากโรงพยาบาล 45 แห่ง และคลินิกฟัน 43 แห่ง ระหว่าง พ.ศ. 2556-2558 โดยใช้เครื่องวัดรังสีชนิดโซลิดสเตท วัดปริมาณรังสี ผู้ป่วย ผู้ใหญ่ จากการถ่ายภาพรังสีฟัน 6 ชนิด ได้แก่ ฟันหน้าบน, ฟันกรามน้อยบน, ฟันกรามบน, ฟันหน้าล่าง, ฟันกรามน้อยล่าง, ฟันกรามล่าง พบปริมาณรังสีมีค่าควอไทล์ที่ 3 ของกลุ่ม เท่ากับ 2.8, 4.0, 5.0, 2.5, 3.0, 3.8 มิลลิเกรย์ ตามลําดับ พบค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีฟันกรามบนของผู้ใหญ่ สูงเกินค่าอ้างอิงของ European Guidelines จํานวน 3 เครื่อง (ร้อยละ 37.5) และเปรียบเทียบค่าปริมาณรังสีของโรงพยาบาลกับคลินิก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p> 0.05 ) สรุปว่าปริมาณรังสีที่ให้ผู้ป่วยมีค่าสูงเกินค่าอ้างอิง ดังนั้น โรงพยาบาลและ คลินิกที่ใช้ปริมาณรังสีสูงควรแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปริมาณรังสีสูงและปรับปรุงเทคนิคปัจจุบันให้ เหมาะสม เพื่อลดปริมาณรังสีให้ผู้ป่วยได้รับน้อยสุดและต่ํากว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Memon A, Godward S, Williams D, Siddique I, AL-Saleh K. Dental x-rays and the risk of thyroid cancer: a case-conrol study. Acta Oncologica. (serial online) 2010 ( cited 2015 Dec 22); 49: 447-453: Available from: URL: http://www.learndigital.net/articles/2011/DentalXraysandthyroidcancer.pdf.

2. European guidelines on radiation protection in dental radiology: The safe use of radiology in dental practice. Issue NO 136. Belgium:European Commission; 2004.

3. IAEA. International Basic Safety Standards for protection against ionizing radiation and
the Safety of radiation sources.IAEA safety series No.115. Vienna:International Atomic
Energy Agency; 1996.

4. ICRP. International Commission on Radiological Protection. Diagnostic reference levels in medical imaging: Review and additional advice. A web module produced by Committee 3 of the ICRP (serial online) 2002 (cited 2015 Dec 30):(14 screen): Available from:URL:http://www.icrp.org/docs/DRL_
for web.pdf.

5. ศิริวรรณ เเลียง สายัณห์ เมืองสว่าง.ความปลอดภัยจากการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันในเขตสาธารณสุขที่ 7. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 25563 55(4) :236-245.

6. Kyung Kim E, Jeong Han W, Woo Choi J, Hoa Jung Y, Ja Yoo s, Seo Lee J. Diagnostic reference levels in intraoral dental radiography in Korea. Imaging Sci Dent.(serial online) 2012 (cited 2015 Dec 22);
42(4):237-242 Available from: URL: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3534178/

7. RA Han M, Cheol Kang B, Seo Lee J, JaYoon S, Hee Kim Y. Reference dose levels for dental periapical radiography in Chonnam Province.Korean J Oral Maxillofac Radiol. (serial online)2009 Dec; (cited 2015 Dec
24);39(4):195-198. Available from:URL: http://ww.kamje.or.kr/KAMJE_Journals/2009/pdf/147.pdf.

8. Food and Drung Adminstration. Dental radiographic examinations: recommendations for patient selection and limiting radiation exposure.(serial online) 2012 (cited 2015 Dec 24); (27 screen): Available from:URL:
http://www.ada.org/~/media/ADA/Member%20Center/FIles/Dental_ Radiographic_Examinations 2012.ashx

9. NRPB. Guidance notes for dental practitioners on the safe use of X-Rayequipment. NRPB, Department of Health, Chilton, (serial online) 2001 (cited 2015 Dec 30); (58 screen): Available from:URL: http://www.gov.uk/govemnment/uploads/system/uploads/attachment_data/file/337178/miscpub_dentalguidancenotes pdf.

10. Gulson AD, Knapp TA, Ramsden PG. Dose to patients arising from Dental X-ray examinations in UK,2002-2004. Hpa-rpd-022. (serial online) 2007 (cited 2015 Dec 24); (18 screen);Available from: URL:https://www.gov.uk/govemment/uploads/system/uploads
attachment_data/file/340122/HpaRpd022.pdf