ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบโรคไตเรื้อรังในประชาชนตําบลแม่ระมาด อําเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

Main Article Content

สุธา ภัทรกิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรัง เป็นปัญหาสําคัญทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็น โรคไตเนื่องจากในระยะแรกของโรคยังไม่มีอาการแสดง การคัดกรองที่มีประสิทธิภาพดีจึงเป็นส่วนสําคัญมากใน การควบคุมปัญหา วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับการพบโรคไตเรื้อรังในประชากร ที่ได้รับการคัดกรองโดยใช้แบบคัดกรอง Modified Kidney Disease Self-screening questionnaires (MKIDs) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจาก โครงการคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ในกลุ่ม


ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ในเขตตําบลแม่ระมาด อําเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ระหว่างกุมภาพันธ์ - เมษายน 2559 แบ่งประชากรที่ศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเปรียบเทียบ อัตราการพบหรือไม่พบโรคไตเรื้อรังในแต่ละปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย chi-square test และ หาระดับความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงโดยใช้ multiple logistic regression ผลการศึกษา : มีผู้เข้ารับการคัด กรองโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ และตรวจระดับ creatinine ในเลือด ในเขตตําบลแม่ระมาด รวม 1,523 ราย พบผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 280 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.4 ของผู้ที่มารับการคัดกรองทั้งหมด ผู้ป่วยส่วน ใหญ่อยู่ในระยะที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 73.6 ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้งหมด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย อายุ 60 ปีขึ้นไป และการมีโรคประจําตัวเป็นความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และเป็นความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน โดยมีระดับความสัมพันธ์ (adjusted odds ratio) เท่ากับ 1.34, 4.47, 2.28, 3.35 และ 4.30 ตามลําดับ สรุป : ปัจจัยเสี่ยงในแบบคัดกรอง MKIDs ที่มีความสัมพันธ์กับการพบ โรคไตเรื้อรัง ได้แก่ เพศชาย อายุที่เพิ่มขึ้น การมีโรคประจําตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ/หรือโรคเบาหวาน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A,Sangthawan P, Gojaseni P, KiattisunthornK; the Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010 ; 25 : 1567-75.

2.คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สําคัญ (สาขา ไต),สถานการณ์ทั่วไปของโรคไตเรื้อรัง แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคไต,2556.หน้า1-2.

3. วรัญญา สัจจามรรค, สุวภา จันทีนอก, เทพพิทักษ์ ดวงดี, ปาริโมก เกิดจันทึก, ธีระพงษ์ ศรีศิลป์ การทดสอบความถูกต้องของ แบบสอบถามที่ใช้ในการคัดกรองความเสี่ยง ในการเกิดโรคไตเรื้อรัง วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2555; 8(3) : 64-75 4. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

4.คําแนะนําสําหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการ บําบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่ง ประเทศไทย