การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) ในชุมชนต่างชาติ เขตเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2557

Main Article Content

พงษ์พจน์ เบี้ยน้ําล้อม
จิราพรรณ กุณบุตร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร สาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) ในชุมชนต่างชาติ เขตเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2557 โดยดําเนินการฝึกอบรม ให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) เพื่อช่วยคัดกรองค้นหาชาวต่างชาติในชุมชนซึ่งมีอาการสงสัย วัณโรคปอดโดยสอบถามประวัติการเจ็บป่วย นัดหมายถ่ายภาพรังสีทรวงอกโดยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ในชุมชน ออกติดตามเก็บเสมหะในรายที่พบมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติทุกรายและออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระหว่างรักษา หลังจากนั้นจึงนําข้อมูลมาวิเคราะห์ นําเสนอเป็นค่าความถี่ และร้อยละ โดยใช้ Chi-square test เปรียบเทียบสัดส่วน ข้อมูลแต่ละชุด ผลการศึกษาพบว่า มีชาวต่างชาติมารับการตรวจคัดกรองวัณโรคปอดรวม 401 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 38.9 และเพศหญิงร้อยละ 61.1 พบมีภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติ 64 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.0 สําหรับอายุพบว่า ร้อยละที่พบภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.006) ส่วนการจําแนกตามเพศ ชุมชน และลักษณะอาชีพไม่พบความแตกต่าง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ที่มี ภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกตินั้นพบผู้มีเสมหะพบเชื้อวัณโรคด้วยกล้องจุลทรรศน์ 1 ราย และจากวิธีการตรวจทาง อณูชีววิทยา (Gene-X pert) อีก 2 ราย รวมเป็น 3 ราย ทุกรายเป็นเพศหญิง ไอนานเกิน 2 สัปดาห์ และผลการ ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาเป็น susceptible ผู้ป่วยได้รับการขึ้นทะเบียนรักษา 2 ราย มีผลการรักษาหาย 1 ราย และรักษาครบ 1 ราย ส่วนอีก 1 รายไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากผู้ป่วยเดินทางกลับภูมิลําเนาเดิมที่ประเทศเมียนมา การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกในชุมชนต่างชาติโดยการมีส่วนร่วมของ อสต. ครั้งนี้ อสต.มีบทบาทสําคัญใน การช่วยคัดกรองผู้มีอาการและอาการแสดงสงสัยวัณโรคปอด นัดหมายผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอดมาถ่ายภาพ รังสีทรวงอกโดยรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ในชุมชน ออกติดตามเก็บเสมหะส่งตรวจในรายที่พบมีภาพถ่ายรังสีทรวงอก ผิดปกติ และเยี่ยมบ้านผู้ป่วยระหว่างรักษานับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการจัดบริการเชิงรุกให้กลุ่มเสี่ยงเป้าหมายในชุมชนต่างชาติให้เข้าถึงบริการได้ ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เหมาะสมกับชุมชนต่างชาติขนาดใหญ่ซึ่งมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่อย่างแออัดจะมีส่วนช่วย ลดปัญหาการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชนได้ จะเห็นว่าศักยภาพ อสต. สามารถช่วยดําเนินกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพ ป้องกัน และควบคุมโรคอื่นๆในชุมชนต่างชาติได้ หากได้รับการฝึกอบรมก่อนดําเนินกิจกรรมนั้นๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. World Health Organization, South-East Asia Regional Office. Tuberculosis control in South-East Asia Region [online]. 2012 [cited 2014 Apr 5]. Available from: URL: http://www.searo.who.int/LinkFilesTuberculosisWHQ-TB-Report-2012.pdf.

2. โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. รายงานผลการคำเนินงานควบคุมวัณ โรคในอำเภอแม่สอดประจำปี 2556. ตาก: โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก; 2557.

3. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณ โรคแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง), พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคระ อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: 2552.

4. พงษ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดเชิงรุกในชาวเขาเผ่ามั้ง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี 2551.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 25533 19(4): 579-85.

5. Swaddiwudhipong W, LerdlukanavongeP, Chaovakiratipong C, Nguntra P, Mahasakpan P,Koonchote S, et al. Screening assessment of theelderly in rural Thailand by a mobile unit. Trans RSoc Trop Med Hyg 1996; 90:223-7.

6. Swaddiwudhipong W, Mahasakpan P,Chaovakiratipong C, Nguntra P, Tatip Y, KoonchoteS, et al. Screening assessment of persons 40-59 years of age in rural Thailand by a mobile health unit. J Med Assoc Thai 1999; 82:131-9.