ผลของโปรแกรมการสื่อสาร พัฒนาทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและการควบคุมโรค ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสวรรคโลก

Main Article Content

มาลินี จิตรนึก

บทคัดย่อ

การควบคุมโรคไตเรื้อรังเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสาร พัฒนาทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและการควบคุมโรค กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 60 คน คัดเลือกตามเกณฑ์ กลุ่มทดลองให้การดูแลตามโปรแกรม และกลุ่มควบคุมดูแลตามปกติ กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมการสื่อสาร พัฒนาทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนา และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบไคกำลังสอง การทดสอบที  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังหลังการเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม และรายด้านคือ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านทักษะการตัดสินใจ ด้านการจัดการตนเอง และด้านการรู้เท่าทันสื่อ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม ระดับนัยสำคัญ 0.001 การควบคุมโรคหลังการเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต (SBP, DBP) ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลง และค่าเฉลี่ยการกรองของไต (eGFR) สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ระดับนัยสำคัญ 0.001  ผลการศึกษาแสดงถึงการใช้โปรแกรมการสื่อสาร พัฒนาทักษะ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทำให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพดีขึ้น สามารถควบคุมโรคได้ จึงควรนำกิจกรรมตามโปรแกรมไปใช้ดูแลผู้ป่วยในคลินิกบริการโรคไตเรื้อรัง

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. สถิติคนไทยป่วยโรคไตเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/51283. html.
2. Health Data Center สสจ. สุโขทัย. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาไต [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://sti.hdc.moph.go.th /hdc/ reports /page.php? cat_id=e71a73a77b1474e
3. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). เครื่องมือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
4. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2561). กลยุทธ์การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
5. อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์.
6. แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.
7. นุสรา วิโรจนกุฏ. (2560). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการแพทย์, 31(1), 41-48.
8. ภคภณ แสนเตชะ และประจวบ แหลงหลัก. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา, 43(2), 150-164.
9. Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences (2nded.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
10. ธีระ วรธนารัตน์ ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ อรจิรา วงษ์ดนตรี และมณฑิชา เจนพานิชทรัพย์. (2558). การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. นฤมล ใจดี รัฐฐา ระมั่ง นวลจันทร์ กวินวาณิช และราตรี โพธิ์ระวัช. (2562). ความฉลาดด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
12. กานต์ณิพิชญ์ ปัญญธนชัยกุล สุทธีพร มูลศาสตร์ และวรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงต่อโรค ไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(1), 41-54.