ปัจจัยความเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกที่มีผลต่อการกำหนดพื้นที่เสี่ยงในระดับตำบล เขตสุขภาพที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์โดยการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลต่อการกำหนดพื้นที่เสี่ยงการระบาดระดับตำบลโดยใช้สถิติการถดถอยลอจิสติกทวิภาค(binary logistic regression) โดยใช้ข้อมูลจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ของโรคไข้เลือดออก ของจังหวัดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 ถึง ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 417 ตำบล มากำหนดเป็นปัจจัยความเสี่ยงทางระบาดวิทยา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลต่อการกำหนดพื้นที่เสี่ยงระดับตำบลมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ยที่เกิดในแต่ละเหตุการณ์ จำนวน 2 รายขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.114 เท่า (95% CI = 1.142-3.912) เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยเฉลี่ย จำนวนน้อยกว่า 2 ราย และ 2) จำนวนปีที่มีอัตราป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง จำนวน 3 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.457 เท่า (95% CI = 1.551-3.893) ดังนั้นระดับอำเภอควรให้ความสำคัญกับการพบผู้ป่วยรายแรกและควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ และเฝ้าระวังสถานการณ์ไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยสูงเกินค่ามัธยฐาน และให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินพื้นที่เสี่ยงการเกิดโรคอย่างน้อยในระดับตำบล และกำหนดพื้นที่เป้าหมายเสี่ยงสูงในการดำเนินงานอันดับแรก
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก.นนทบุรี:
กรมควบคุมโรค;2558.
ศิริชัย วงศ์วัฒนไพบูลย์. การศึกษาระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย การพยากรณ์และ
แนวทางการป้องกันควบคุมโรค. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2550;38: 613-8.
ศรเพชร มหามาตย์ ,จิระพัฒน์ เกตุแก้ว. การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2557. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2557;10(1) :49-59.
ศรเพชร มหามาตย์ ,จิระพัฒน์ เกตุแก้ว. รายงานพยากรณ์โรค พ.ศ.2558. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค.[ อินเตอร์เนต]. [ สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย.2563] แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/dvb/forecast.php
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง.รายงานพยากรณ์โรค พ.ศ.2559-2562. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรม
ควบคุมโรค.[ อินเตอร์เนต]. [ สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย.2563] แหล่งข้อมูล:
https://ddc.moph.go.th/dvb/forecast.php
จุลจิลา หินจำปา, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์.การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2539-2559.วารสารควบคุมโรค.2560;43:342-55.
สำนักระบาดวิทยา. สรุปแนวทางการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ.บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด;2559.
จิระพัฒน์ เกตุแก้ว. ข่าวกรองทางด้านระบาดวิทยาและประสบการณ์การวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออก.วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง 2554;7(1) :38-47.