ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเชื้อดื้อยาซีอาร์อี (CRE) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยวิกฤติโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

Main Article Content

ณัฐวิภา โลเกศเสถียร

บทคัดย่อ

การเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาที่สำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาข้อมูลย้อนหลังเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเชื้อดื้อยา CRE ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ป่วยที่เกิดเชื้อดื้อยา CRE แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ICU  42 ราย และกลุ่ม Non-ICU  84 ราย รวมกลุ่มตัวอย่าง 126 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลจากการทบทวนจากเวชระเบียนของผู้ป่วยในเดือน ตุลาคม 2560 ถึง ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Crude Odds Ratio และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก  ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อดื้อยา CRE ในผู้ป่วย ICU มีเพียง 3 ปัจจัย ได้แก่ การทำหัตถการ On ET Tube เป็นปัจจัยทำให้เกิดการติดเชื้อดื้อยา CRE ในผู้ป่วยกลุ่ม ICU สูงกว่าผู้ป่วยกลุ่ม Non-ICU 4.114 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.205 < 95% CI > 14.049, p= 0.024) สำหรับปัจจัยการเป็นโรคมะเร็ง และเชื้อก่อโรคสายพันธ์ bla-NDM include LAT-1 to LAT4, CMY-2 to CMY-7, BIL-1 เป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา CRE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยกลุ่ม Non-ICU สูงถึงร้อยละ 77.9 (p= 0.011) และ 82.8 9 (p=0.026) ตามลำดับ  โดยสรุปการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในการทำหัตถการที่ invasive และการค้นหามาตรการการป้องกันและลด colonization ของเชื้อดื้อยา CRE โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นผู้ป่วยโรคมะเร็ง จะช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดเชื้อดื้อยา CRE

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Nordmann P, Naas T, Poirel L. Global spread of carbapenem are producing Enterobacteriaceae. Emerg Infect Dis. 2011; 17(10): 1791-1798.

2. World Health Organization. Antibiotic resistance. Available at: http://www.who.int/ mediacentre /factsheets/antibiotic-resistance/en/. Accessed June 26, 2018.

3. Panumart Phumart, Tuangrat Phodha, Visanu Thamlikitkul, Arthorn Riewpaiboon†, Phusit Prakongsai, Supon Limwattananon. Health and Economic Impacts of Antimicrobial Resistant Infections in Thailand: A Preliminary Study. Journal of Health Systems Research. 2012; 6(3): 352-360.

4. Ngamprasertchai T, Boonyasiri A, Charoenpong L, Nimitvilai S, Lorchi¬rachoonkul N, Wattanamongkonsil L. Effectiveness and safety of polymyxin B for the treatment of infections caused by extensively drug-resistant gram-negative bacteria in Thailand. Infect Drug Resist 2018; 11: 1219-24.

5. ภคนันท์ สาดสี วท.บ. ความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก.Journal of Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. 2019; 13 (2): 78-86.

6. อรวรรณ โอษฐิเวช. ความชุกของเชื้อ Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae ในโรงพยาบาลมุกดาหาร. Department of Health Service Support Journal. 2020; 16 (2): 20-31.

7. ชลดา ผิงผ่อง พย.ม. อุบัติการณ์ติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenems โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559; 30(2): 1-12.

8. นพ.พฤฒิพงศ์ หนุเพชร, ศ.ดร.นพ.ชุษณา สวนกระต่าย. การดื้อยาของแบคทีเรียแกรมลบ: กลไกและการนำไปใช้ทางคลินิก.combat the resistance.ครั้งที่ 1.สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มกราคม 2561

9. Kiratisin P, Apisarnthanarak A, Laesripa C, Saifon P. Molecular characterization and epidermiology of extended-spectrum-beta-lactamase-producing Escherichia coli and Klebsiella pneumonia isolates causing health care-associated infection in Thailand, where the CTX-M family is endermic. Antimicrob Agents Chemother. 2008;5(8):2818-24.

10. Castanheira M, Deshpande LM, Mathai D, Bell JM, Jones RN, Mendes RE. Early dissemination of NDM-1- and OXA-181- producing Enterobacteriaceae in Indian hospitals: report from the SENTRY Antimicrobial Surveillance Program, 2006-2007. Antimicrobe Agents Chemother. 2011; 55(3): 1274-8.

11. Shibi A, Al-Agamy M, Memish Z, Senok A, Khader SA, Assiri A. The emergence of OXA-48 and NDM-1 positive Klebsiella pneumonia in Riyadh, Saudi Arabia. Int J Infect Dis. 2013; 17(12): e1130-3.

12. สุกัญญา บัวชุม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยา Carbapenem : CRE ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2563; 1 (1): 1-13.

13. Apisarnthanarak A, Kiratisin P, Khawcharoenporn T, Warren DK. Using an intensified infection prevention intervention to control carbapenemase-producing Enterobacteriaceae at a Thai center. Infect Control Hosp Epiemiol.2012; 33(9): 960-1.

14. Smith HZ, Kendell B. Carbapenem Resistant Enterobacteriaceae. [Updated 2020 Jul 31]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2020 January.

15. Ann A Elshamy and Khaled M Aboshanab. A Review on bacterial resistance to carbapenems: epidemiology, detection and treatment options. Future Science OA. 2020 March; 6(3): FSO438. Published online 2020 Jan 27. doi: 10.2144/fsoa-2019-0098.