ผลการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับต่ออัตราการเลื่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

Main Article Content

กนกพร มีเดช

บทคัดย่อ

อัตราการเลื่อนผ่าตัดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งของงานห้องผ่าตัด การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเลื่อนผ่าตัด สาเหตุการเลื่อนผ่าตัด การรับรู้และความรู้สึกของการถูกเลื่อนผ่าตัดระหว่างก่อนกับหลังการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ 6 เดือน ก่อนการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับ คือ ตุลาคม 2562 ถึง มีนาคม 2563 และ 6 เดือน หลังการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับ คือ เมษายน ถึง กันยายน 2563 และ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 50 ราย ในการศึกษาการรับรู้และความรู้สึกของการถูกเลื่อนผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกอุบัติการณ์การเลื่อนผ่าตัด แบบประเมินการรับรู้และความรู้สึกต่อการเลื่อนผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และการทดสอบไควสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าอัตราการเลื่อนผ่าตัดลดลงหลังการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับจากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 2.2 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.261) ผู้ป่วยรับรู้การเลื่อนผ่าตัดร้อยละ 88  ความรู้สึกของการถูกเลื่อนผ่าตัดพบว่าความรู้สึกวิตกกังวลหลังการให้ข้อมูลการเลื่อนผ่าตัดลดลงจาก 4.2 เป็น 2.7 และความรู้สึกเสียใจลดลงจาก 4.0 เป็น 2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000, 0.017 ตามลำดับ)  และพบว่าร้อยละ 56  ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลในการนัดผ่าตัดครั้งต่อไป  โดยสรุปการใช้ระบบสะท้อนข้อมูลกลับสามารถลดอัตราการเลื่อนผ่าตัดจากสาเหตุห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ไม่พร้อมลงได้ และการให้ข้อมูลการเลื่อนผ่าตัดช่วยลดความรู้สึกวิตกกังวลและเสียใจ ดังนั้นจึงควรนำระบบการสะท้อนข้อมูลกลับไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการเลื่อนผ่าตัดในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. เรณู อาจสำลี. ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ใน ผ่องศรี ศรีมรกต (บรรณาธิการ), การพยาบาล และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ปเพรส, 2551.

2. Leach LS, Myrtle RC, Weaver FA, et al Assessing the performance of surgical teams. Health Care Manage Rev. 2009; 34: 29 - 41.

3. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Patient safety goals: SIMPLE. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล, กรุงเทพฯ: 2551.

4. พนารัตน์ รัตนสุวรรณ และคณะ. สาเหตุของการเลื่อนผ่าตัดกรณีไม่เร่งด่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร. โรงพยาบาลศรีนครินทร : ขอนแก่น. 2559.

5. Krisanaprakornkit W, Tasanarong D, Panjawaranuwat Y, Chairat L, Srichaipunha S., Cancellation on the day of surgery in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J. 2002; 17: 7-12.

6. Wikipedia. Operating room management [homepage on the Internet]. Bytom: Medical University of Silesia [cited 2010 Dec 8]. Available from: http://en. wikipedia.org/wiki/ Operating_room_management., 2009.

7. Alex Macario. Are your operating rooms being run efficiently? Medscape Anesthesiology; Apr [serial on the Internet]. [cited 2011 Dec10]. Available from: http://www.medscape.com/viewarticle/719542., 2010.

8. Sanjay P, Dodds A, Miller E, et al. Cancelled elective operations: an observational study from a district general hospital. J Health Organ Manag. 2007; 21: 54 - 8.

9. Farasatkish R, Aghdaii N, Azarfarin R, et al. Can preoperative anesthesia consultation clinic help to reduce operating room
cancellation rate of cardiac surgery on the day of surgery. Middle East J Anesthesiol. 2009; 20: 93 – 6.