ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศิริรัตน์ ตันไสว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือเจ้าหน้าที่ในองค์กรทั้งหมด 342 คน โดยใช้แบบสำรวจ happinometer เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า ความสุขของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับ happy (µ = 64.23) ทุกมิติมีค่าความสุขอยู่ในระดับ happy ยกเว้นมิติสุขภาพการเงินดี อยู่ในระดับ unhappy ระดับความผูกพันของบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับ
(µ = 68.08) ระดับการศึกษา มีอิทธิพลต่อความสุขภาพรวม และเพศ มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร คือเพศ การอาศัยในจังหวัดเดียวกันกับภูมิลำเนา การศึกษา สถานภาพการจ้างงาน ระยะเวลาทำงานในองค์กรปัจจุบัน และจำนวนครั้งการลาออก/ย้ายงาน/เปลี่ยนงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นการคงไว้ซึ่งระดับความสุขและความผูกพัน และการพัฒนาความสุขและความผูกพันต่อองค์กรให้ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องทำเป็นระบบ เริ่มจากรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร รวมไปถึงข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ การให้ค่าตอบแทน การจ่ายเงินเดือนหรือสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อเพียงพอต่อการใช้ชีวิต สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน และควรมีบรรทัดฐานทางสังคม เพราะว่าบุคลากรมีความยินดี และพร้อมที่จะตอบแทน เพื่อให้องค์กรก้าวหน้า และประสบความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Lyubomirsky, S. Why are some people happier than other? The role of cognitive and motivational process in well-being. American Phycology. 2001; 56 (7): 239-249.

2. Manon, J. Joy at Work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration. 2003; 3 (12): 652-655.

3. รัชนีกร บุญยโชติมา, วัลภา พรหมพล, สุรีพร พจนสิทธิ์, อรวรรณ ทองนาท และศรีประภา บริสุทธิ์. 2557. การสำรวจความสุขของบุคลากรแผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉินโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15 (2) (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 252-260..

4. พงศธร พอกเพิ่มดี. 2559. ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน: จุดยืน วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ค่านิยม และยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2560] เข้าถึงได้จาก: htts://www.google.co.th/search?hl=th&tbmbks&ei=2P4cWsHbDITthASA7o24Bg&q

5. ภาวินี พลายน้อย และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. 2561. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์. 2561; (มกราคม-มิถุนายน): 92-105.

6. ภาวิน ชินะโชติ, ทองฟู ศิริวงศ์ และภาณุ ชินะโชติ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณอายุในอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 2561; 12 (2) (พฤษภาคม-สิงหาคม): 319-334.

7. ธญา เรืองเมธีกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทยในเขตจังหวัดนครสวรรค์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ; ครั้งที่ 4. 22 ธันวาคม 2560.สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2560. 698-710.

8. รายงานภาพรวมความสุขคนทำงานกระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: Facebook/HR4Health

9. นภัชชล รอดเที่ยง. 2550. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงาน ของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัย ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

10. วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์. เจาะพฤติกรรม GEN Y ธนาคารกรุงเทพฯ. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/finance/news-211619

11. สมยศ พนธารา, ปราณี เกิดผล และพิชชาภา ห้อมา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ และความสมดุลในชีวิตของบุคลากรโรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560; 28 (2) (ก.ค.-ธ.ค.): 128-139.