ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังต่อพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุเทพ วรรณา
กุลจิรา แซมสีม่วง
ทอรุ่ง เบ้าทองคำ
นงลักษณ์ เจริญไพบูลย์ลาภ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ ศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้สูงอายุ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและหรือโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยยารับประทาน และผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 60 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรัง 30 คน กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ 30 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานยา โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรัง โปสเตอร์วิธีการรับประทานยา และปฏิทินบันทึกการรับประทานยา ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรัง หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2.ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น ควรนำโปรแกรม นี้ไปใช้ในการจัดการปัญหาการรับประทานยาในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ปีงบประมาณ 2560 [อินเตอร์เน็ต]. เพชรบูรณ์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://203.157.102.184/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

2. จิตชนก ลี้ทวีสุข, พชร เมฆี, พรทิพย์พา ถวี, พิชญ์สินี ญาณะ, พิธาน จินดาวัฒนวงศ์, ลลิต์ภัทร ถิรธันยบูรณ์, ณัฏฐนันท์ รัตนพาณิชย์. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเชียงทอง ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะแพทย์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2556.

3. วาสนา นัยพัฒน์. ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านพักข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553; 3: 2-14.

4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. สรุปรายงานประจำปีการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ปีงบประมาณ 2560. เพชรบูรณ์: ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

5. แสงเดือน อภิรัตนวงศ์. การจัดการดูแลตนเองเรื่องการใช้ยาในผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

6. สรารัตน์ สุขสมสิน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนลำลูกกา จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2551.

7. จงจิต บุญอินทร์. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการดูแลสุขภาพเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.

8. ทิพารัตน์ คงนาวัง. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

9. ศศิพิมพ์ ไพโรจน์กิจตระกูล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลร่วมกันต่อการดูแลร่วมกันของผู้ป่วยและครอบครัว ภาวะโภชนาการ และการติดเชื้อที่แผลช่องสายออกในผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

10. รัชมนภรณ์ เจริญและคณะ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Rama Nurse J. May – August 2010. 279 – 292.

11. Sebern, M. Shared Care elder and family member skills used to manage burden. Journal of Advanced Nursing 2005; 52(2): 170-179.