ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

Main Article Content

สุขณิษา อินแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอนาหม่อม คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 27 คน เพิ่มกลุ่มตัวอย่างอีก 10 % ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น กลุ่มละ 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
โดยกลุ่มทดลอง เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และกลุ่มควบคุมเป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก แบบบันทึกการตรวจระดับคราบจุลินทรีย์  และบันทึกการเยี่ยมบ้านวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบใช้ T-test ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพในช่องปากมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลช่องปากและระดับคราบจุลินทรีย์ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ฯ (p < .05)

2.ผู้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพในช่องปากมีความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและความแตกต่างค่าเฉลี่ยระดับคราบจุลินทรีย์ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p < .05)


การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิผล โดยการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมและกระตุ้นเตือนในการดูแลสุขภาพช่องปากได้ดี

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Australian Institute of Health and Welfare (AIHW).Older Australia at a glance: 4th edition. Cat. no. AGE 52. Canberra;2018

2. World Oral Health Day 2019 ‘Say Ahh: Act on Mouth Health’ campaign calls for concrete action for good oral health [Internet]. [cited 2019 Sep.10]. Available from: https://www.fdiworlddental.org/news/20181012/world-oral-health-day-2019-

3.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560.นนทบุรี : สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด;2561.

4. โปรแกรม Extreme Platform for Hospital Information (Hos Xp) ของรพ.นาหม่อม ปี 2563 ) Hos xp รพ.นาหม่อม

5.Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988

6.ขวัญเรือน ชัยนันท์, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และ มยุนา ศรีสุภนันต์ .วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5: 91-107

7.ณัฐวุฒิ พูลทอง,สมศักดิ์ อาภาศรีทองกุล,สุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโนนสง่า ตำบลซาง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล 2559;2:53-67

8.ธนวัฒน์ มังกรแก้ว.การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน.วารสารราชนครินทร์ 2559; 13 :143-150

9. W.M. Thomson, S.M. Williams, J.M. Broadbent, R. Poulton, and D. Locker. Long-term Dental Visiting Patterns and Adult Oral Health.J Dent Res. 2010; 89(3): 307–311

10. Kum SS, Northridge ME, Metcalf SS. Using focus groups to design systems science models that promote oral health equity. BMC Oral Health [Internet] 2018[cite 2020 Jan 15];18(1):99. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5987593/ doi: 10.1186/s12903-018-0560-0