การสอบสวนกรณีการเสียชีวิตจากการขาดอากาศในที่อับอากาศ โรงงานผลิตยางสกริมเครพ ต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา 13-16 สิงหาคม 2562

Main Article Content

หทัยทิพย์ จุทอง
สวรรยา จันทูตานนท์
สุณัฐฐา ผอมนุ้ย
จิราวรรณ บัวเชย
ฟิตริย๊ะ สาและ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และหามาตรการควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากที่อับอากาศ โดยศึกษาข้อมูลการตาย การบาดเจ็บ ผลการตรวจวัดปริมาณก๊าซ สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ สำรวจสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา สถานที่เกิดเหตุโรงงานผลิตยางสกริมเครพ  ผู้ประสบเหตุ  5  คน  เสียชีวิต 4 คน ได้รับบาดเจ็บ  1  คน  เกิดจากการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ขนาดกว้าง 1.5 เมตร X ยาว 1.5 เมตร X ลึก 1.9 เมตร ผลการตรวจวัดก๊าซ  ที่ความลึก 30 เซนติเมตร จากปากบ่อที่เกิดเหตุ พบว่ามีก๊าซออกซิเจน 21 % อยู่ในเกณฑ์ปกติ และก๊าซ Hydrogen sulfide (H2S) เฉลี่ย 18 ppm. ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ในขณะที่ตรวจไม่พบก๊าซมลพิษอื่นได้แก่ Carbon monoxide, Nitrogen dioxide และ NOx   สำหรับขั้นตอนในการผลิตยางสกริมเครพใช้กรดซัลฟุริก  H2SO4 เพื่อให้น้ำยางจับตัว  สรุปได้ว่าสาเหตุของการเสียชีวิตอาจเนื่องจากก๊าซที่เกิดจากน้ำเสียจากบ่อหมักชีวภาพที่มีก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบ  ผลกระทบไฮโดรเจนซัลไฟด์ 1000 – 2000 ppm. ทำให้หมดสติทันทีหยุดการหายใจและเสียชีวิตทันที
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 5,000 ppm. อาจทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาที  ซึ่งควรมีการให้ความรู้สถานประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน ทีมกู้ชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง กับบ่อหมักก๊าซชีวภาพ มีการกำหนดข้อปฏิบัติการทำงานไม่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไปบริเวณบ่อหมัก                

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

เอกสารอ้างอิง
1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพและการใช้ก๊าซชีวภาพ(Biogas)สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม.[อินเตอร์เน็ต ].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.diw.go.th/km/safety/pdf/biogas_2.pdf

2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม.หลักปฏิบัติเพื่อการป้องกันมลพิษ (เทคโนโลยี่การผลิตที่ สะอาด) สำหรับอุตสาหกรรมรายสาขา อุตสาหกรรมน้ำยางข้น อุตสาหกรรมยางแท่งมาตราฐาน เอสที อาร์20 กันยายน. 2544 [อินเตอร์เน็ต ].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://php.diw.go.th/ctu/files/pdf/codeofpractice_rubber_th.pdf

3. กระทรวงแรงงาน. กฎกระทรวงกำหนดมตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562[อินเตอร์เน็ต ].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://122.155.89.37/index.php?option=com_content&view=article&id=1930%3A-m-ms&catid=1%3Anews-thai&Itemid=201.

4. คณาธิศ เกิดคล้าย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย สถานการณ์การเสียชีวิตและมาตรการป้องกันอันตราย จากการทำงานในสถานที่อับอากาศ [อินเตอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2014/05/Confined.pdf

5. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. สถานการณ์การเสียชีวิตและมาตรการป้องกันอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ [อินเตอร์เน็ต ].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/473-2019-02- 06-07-31-58.

6. หทัยทิพย์ จุทอง. กรณีสงสัยการเสียชีวิตจากก๊าซชีวภาพในบ่อหมัก ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะดหมด จังหวัดพัทลุง 2562; (อัดสำเนา)

7. ธรพงศ์ จันทรวงศ์และณัฐพงศ์ แหละหมัน. รายงานการสอบสวนการเสียชีวิตของลูกเรือประมง ณ.แพองค์การสะพานปลา จังหวัดภูเก็ต.2550;(อัดสำเนา)

8. เอมอร ไชยมงคลมงคล รายงานการสอบสวนกรณีลูกเรือประมงเสียชีวิต อำเภอเมือง จังหวัดสตูล 2550 (อัดสำเนา)

9. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. ความปลอดภัยในการผลิตและการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ ฉบับปรับปรุง ธันวาคม 2557.[อินเตอร์เน็ต ].2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://energysafety.ete.eng.cmu.ac.th/media/2557/manual/Biogas%20Safety.pdf