การสังเคราะห์ข้อมูลระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารทีมีฟอส ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ปีพ.ศ.2551-2561

Main Article Content

นิธิพัฒน์ มีโภคสม

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการรวบรวมผลการศึกษาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารทีมีฟอสในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2551-2561 โดยการศึกษาจะทดสอบความไวต่อสารทีมีฟอสของลูกน้ำยุงลาย  ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โดยเก็บตัวอย่างลูกน้ำยุงลาย ทั้งในและนอกเขตเทศบาลเมือง ของจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย


จากสถานการณ์ พบว่า ยุงลายในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  ในเขตเทศบาลเมืองมีความไวต่อสารทีมีฟอส ที่ความเข้มข้น 0.012 มิลลิกรัมต่อลิตร ในระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูง (อัตราการตายระหว่างร้อยละ      58-100) ส่วนลูกน้ำยุงลายนอกเขตเทศบาลเมืองมีระดับความไวต่อสารเคมีอยู่ในระดับต่ำ ระดับปานกลางและระดับสูง (อัตราตายระหว่างร้อยละ 36-100) 


สรุปได้ว่า ยุงลายในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  มีพัฒนาการความต้านทานต่อสารทีมีฟอส อาจเนื่องมาจากสารทีมีฟอสมีการนำมาใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นเวลานาน และการใส่ทรายทีมีฟอสในภาชนะขังน้ำในอัตราส่วน    ที่ไม่ถูกต้อง จึงมีโอกาสที่ลูกน้ำยุงลายได้รับสารทีมีฟอสในขนาดที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ลูกน้ำยุงลายมีพัฒนาการให้ต้านทานต่อสารทีมีฟอสได้ จึงควรทำความเข้าใจกับประชาชนที่ใช้สารทีมีฟอสในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้เข้มงวดและระมัดระวังในการใส่ทรายทีมีฟอสในภาชนะขังน้ำในอัตราส่วนที่ถูกต้อง


 

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สีวิกา แสงธาราทิพย์. ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก. ใน:สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือกออก.โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก กรุงเทพมหานคร :ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545. หน้า1-6.

2. สมศักดิ์ วสาคารวะ. สารเคมีกำจัดแมลง. ใน: สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือกออก. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. 2545. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545. หน้า 89-98.

3. World Health Organization. 1997. Insecticides resistance in mosquito vector of disease. Report of a region working group meeting, Salatiga (Indonesia), 5-8 August New Delhi: World Health Organization regional office for south east Asia; 1998.

4. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. ไข้เลือดออก. รายงานประจำปี 2556. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2556.

5. สมบูรณ์ เถาว์พันธ์, กองแก้ว ยะอูป. การศึกษาประสิทธิภาพทรายเคลือบทีมีฟอส 2% ในภาชนะขังน้ำที่มีการใช้น้ำหมุนเวียนในชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย. วารสารมาลาเรีย. 2544:36:8-12.

6. วาสนา สอนเพ็ง, มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล, ปารณีย์ เคนกุล. การศึกษาความต้านทานของลูกน้ำยุงลายต่อสารเคมีทีมีฟอส. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7จังหวัดอุบลราชธานี 2550;5:13-9.

7. กิติยาภรณ์ มานุจำ, สุพร สาระกูล, อวยชัย แว่นแก้ว, สมชาย ปรีชาชาญ, ชาติชาย เจริญเสียง. การเฝ้าระวังความไวของยุงลายตัวเต็มวัยและลูกน้ำ (Aedes aegypti Linn.) ต่อสารเคมีกำจัดแมลง. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์. 2551;.2:24-34.