การศึกษาสถานการณ์และรูปแบบของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

เบญจวุฒิ ครุฑเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาสถานการณ์และรูปแบบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ปี 2556  ถึง  2559 จำนวน 105 ราย ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว ประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุรา อาการนำ ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนวินิจฉัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ สรุป วิจารณ์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ร้อยละ 74.29 เป็นชาย อายุ 50- 59 ปี ร้อยละ 31.43 การศึกษาระดับประถมร้อยละ 86.67 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 66.67 รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 60 สิทธิ์การรักษา UC  ร้อยละ 95.24  ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กก. /ม 2 ร้อยละ 55.24 โรคประจำตัวโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24.14 ระยะเวลาเริ่มมีอาการจนวินิจฉัยโรคมากกว่า 4 สัปดาห์ร้อยละ 46.67  สูบบุหรี่ร้อยละ 43.56 ดื่มสุราร้อยละ 41.95 ร้อยละ 27.91 ติดสุราเรื้อรัง ประวัติการสัมผัสโรคไม่ชัดเจนร้อยละ 82.86  อาการของผู้ป่วยตามระยะเวลาก่อนมาพบแพทย์ คือ 1 สัปดาห์มาด้วยอาการไข้  ตัวร้อนร้อยละ 18.75  ระยะเวลา 2 สัปดาห์มาด้วยอาการไอแห้งร้อยละ 14.29 ระยะเวลา 3 สัปดาห์มาด้วยอาการไข้ตัวร้อน ไอมีเสมหะร้อยละ 20 ระยะเวลา 4 สัปดาห์มาด้วยอาการไอ มีเสมหะ ไอปนเลือด เหนื่อยหอบ รู้สึกหายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลียและเวียนศีรษะ ร้อยละ 16.67

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป
Author Biography

เบญจวุฒิ ครุฑเมือง , โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์

การศึกษาสถานการณ์และรูปแบบผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่โรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ปี 2556  ถึง  2559 จำนวน 105 ราย ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว ประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุรา อาการนำ ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนวินิจฉัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ สรุป วิจารณ์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ร้อยละ 74.29 เป็นชาย อายุ 50- 59 ปี ร้อยละ 31.43 การศึกษาระดับประถมร้อยละ 86.67 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 66.67 รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 60 สิทธิ์การรักษา UC  ร้อยละ 95.24  ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กก. /ม 2 ร้อยละ 55.24 โรคประจำตัวโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 24.14 ระยะเวลาเริ่มมีอาการจนวินิจฉัยโรคมากกว่า 4 สัปดาห์ร้อยละ 46.67  สูบบุหรี่ร้อยละ 43.56 ดื่มสุราร้อยละ 41.95 ร้อยละ 27.91 ติดสุราเรื้อรัง ประวัติการสัมผัสโรคไม่ชัดเจนร้อยละ 82.86  อาการของผู้ป่วยตามระยะเวลาก่อนมาพบแพทย์ คือ 1 สัปดาห์มาด้วยอาการไข้  ตัวร้อนร้อยละ 18.75  ระยะเวลา 2 สัปดาห์มาด้วยอาการไอแห้งร้อยละ 14.29 ระยะเวลา 3 สัปดาห์มาด้วยอาการไข้ตัวร้อน ไอมีเสมหะร้อยละ 20 ระยะเวลา 4 สัปดาห์มาด้วยอาการไอ มีเสมหะ ไอปนเลือด เหนื่อยหอบ รู้สึกหายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลียและเวียนศีรษะ ร้อยละ 16.67

References

1. กรมควบคุมโรค. เอกสารประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2560 [สื่ออิเล็กทรอนิกส์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก: http; www.tbthailanf.org /_download/Form_Plan_60TBJun17.docx

2. World Health Organization. Global TB Report 2015.[สื่ออิเล็กทรอนิกส์] 2015[เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก :http;//www.who.int/tb/publications/global_report_2015

3. วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย. วัณโรค(Tuberculosis). ใน : วันชัย วนะชิวนาวิน,สุทิน ศรีอัษฎาพร,วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย. บรรณาธิการ.ตำราอายุรศาสตร์ โรคตามระบบ I. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:หมอชาวบ้าน;2552. หน้า 167-186

4. สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 9. รายงานวัณโรค TB08. [สื่ออิเล็กทรอนิกส์]. 2557[เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก : http://odpc9.ddc.moph.go.th/index.html

5. ธัญพร ปานสุวรรณ, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, รัชนี นามจันทรา. การแสวงหาความช่วยเหลือของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ก่อนเข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2561]; หน้า279-287 เข้าถึงได้จาก : https://www.rsu.ac.th/nurse/download/thesis&research/20180827-ธัญพร.pdf

6. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. เอกสารเผยแพร่ DDC WATCH เรื่อง วัณโรค. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3. [สื่ออิเล็กทรอนิกส์]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560] ;เข้าถึงได้จาก : http;//www.boe.moph.go.th, http://203.157.15.110/boe/viewnews.php

7. Annual Epidemiological. Surveillance Report 2009. ISSN 0857-6521[สื่ออิเล็กทรอนิกส์]. 2009 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560] ;เข้าถึงได้จาก : http://www.epid.moph.go.th/

8. กระทรวงการคลัง. โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2559-2560.[สื่ออิเล็กทรอนิกส์].2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560];เข้าถึงได้จาก : http://thaipublica.org/2016/10/registration-of-poor-people-6-10-2559/ ,http:// www.fpo.go.th

9. นงนุช เสือพูมี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของประชาชน ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.(วารสาร พ.ส.) [Internet]2557. NJPH [เข้าถึงเมื่อ22 เมษายน 2560];23(2):79-3. เข้าถึงได้จาก::http://www.tcithaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11899

10. วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.[สื่ออิเล็กทรอนิกส์]. 2557[เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2560] ;เข้าถึงได้จาก : https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/7711