การพัฒนาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติด้านการป้องกันควบคุมโรค สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

วิรัช ประวันเตา
เยาวเรศ วิสูตรโยธิน
ภัทรเดช วรศรีหิรัญ
กอบโชค วุฒิโชติวณิชย์กิจ
วินัย ทองชุบ
อุษารัตน์ ติดเทียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติด้านการป้องกันควบคุมโรคสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นการวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยมีการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอนคือ (1) สังเคราะห์องค์ ประกอบเกณฑ์รางวัลฯด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ  5 ท่าน ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะ จงตามเกณฑ์ฯ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (2) สร้างและตรวจสอบเกณฑ์รางวัลฯ โดยขั้นการสร้างเกณฑ์รางวัลฯใช้การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟายผู้เชี่ยวชาญ 18 ท่าน ตามคุณสมบัติที่กำหนด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  สำหรับขั้นการตรวจสอบเกณฑ์รางวัลฯ ใช้แบบ สอบถาม(scale 5 ระดับ) ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง สอบถามความเหมาะสมเกณฑ์รางวัลฯ จากผู้อำนวยการกอง /สำนัก/หัวหน้าส่วนสาธารณสุขฯ เทศบาล 17 จังหวัดภาคเหนือทุกแห่ง รวม 178  แห่ง (ตอบกลับ 160 แห่ง) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL  (3) ปฏิบัติการใช้และประเมินเกณฑ์รางวัลฯ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ประโยชน์ จากกลุ่มเป้หมาย 45 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (scale 5 ระดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ


            ผลการศึกษาพบว่าเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมี 8  หมวด  (55 ข้อ)  ผู้เชี่ยวชาญเห็นเหมาะสม  8  หมวด  (51 ข้อ) ดังนี้หมวด 1 บทบาทผู้บริหารท้องถิ่น(6 ข้อ) หมวด 2วางแผนกลยุทธ์(6 ข้อ) หมวด 3 มุ่งเน้นประชาชนผู้รับบริการ(8 ข้อ)  หมวด 4 ข้อมูล สารสนเทศและการวัด วิเคราะห์(4 ข้อ) หมวด 5 จัดการความรู้และนวตกรรม(4ข้อ) หมวด 6 พัฒนาบุคลากร( 7ข้อ) หมวด 7 กระบวนการปฏิบัติงาน( 6 ข้อ) และหมวด 8 ผลลัพธ์การดำเนินการ (9 ข้อ) จากการทดสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างข้างต้นพบทุกองค์ประกอบมีค่าความเหมาะสมระดับมากถึงมากที่สุด และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.38 – 0.56 และทุกโมเดล (8 โมเดลย่อย, 1 โมเดลภาพรวม) มีความตรงเชิงโครงสร้างที่สอดคล้อง(Fit) กับข้อมูลเชิงประจักษ์(ค่าไคสแควร์ระดับการยอมรับที่ไม่มีนัยสำคัญหรือค่า p –value มากกว่า 0.05  ดัชนีวัดความสอดคล้อง(GFI) 0.90 ขึ้นไป ค่าดัชนีกำลังสองของความคลาดเคลื่อน(RMSEA)มีค่าไม่เกิน  0.05 และจากการ


ประเมินผลการนำไปใช้พบมีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก.

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/% B705/%B705-20-9999-update.pdf

2. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ratchakitcha..soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0253.PDF

3. สถาบันพระปกเกล้า. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล. [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kpi.ac.th/wiki /images/8/8d/อบต.pdf

4.สถาบันพระปกเกล้า. พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ.pdf. [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า; 255 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.kpi.ac.th/wiki/images/0/080/08/

5.สถาบันพระปกเกล้า. พระราชบัญญัติเทศบาล. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก : http://www.kpi.ac.th/wiki/images/e/e6เทศบาล

6. สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : 2538 มหาวิทยาลัยมหิดล. ทิศทางควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: www.mahidol.ac.th/th/latest54/asean_

7. สายพิณ วรบุตร. บทบาทองค์การบริหารส่วนตำบล ในการป้องกันควบคุมโรคบริเวณชายแดน. กาสะลองคำ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2560] ; 23-9 เข้าถึงได้จาก http://research.crru.ac.th/assets_journal/file_upload/5_2_2554p22.pdf

8. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กองทุนสุขภาพระดับพื้นที่. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/Download/2019020.pdf

9. โกวิท พวงงาม. การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Veridian [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึง เมื่อ 15 ตุลาคม 2560] ; 121- 34 เข้าถึงได้จาก http://www.educ.su.ac.th/images/journal/web/57-1/10.PDF.

10. กองนวัตตกรรมและวิจัย. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต] นนทบุรี : กรมควบคุมโรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.oic.go.th//FILEWEB/CABINFOCENTER28/DRAWER068/GENERAL/DATA0000/00000275.PDF

11. สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. ความเป็นมาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. [อินเตอร์เน็ต]กรุงเทพฯ : สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.tqa.or.th/th/TQAdownload.html

12. สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. เจตจำนงของเกณฑ์. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.tqa.or.th/thเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ/html

13. กรมอาเซียน. โรคไร้พรหมแดน. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2369/35195

14.วรสิทธิ์ เจริญพุฒ. การวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟาย. มนุษย์และสังคมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2560]; 20 – 60 เข้าถึงได้จาก https://www.western.ac.th/westernnew/admin/uploaded/journal_human/files/34.pdf

15 ชนิตา รักษ์พลเมือง. เทคนิคการวิเคราะห์นโยบายการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550

16. กิตติยา คำภีร์. พัฒนาระบบราชการและบริหารภาครัฐ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาระบบราชการ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค.2560]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dga.or.th/upload//download/file_b94217a10bc490e9af2958a457ed1bc9.pdf

17. ผดุชชัย เคียนทอง. การถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.ดำรงราชานุภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2560]; 81 – 90 เข้าถึงได้จาก http://km.moi.go.th/km/20_plan_budget/plan8.PDF

18. ราชกิจจานุเบกษา.ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ15 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก
http://www.ratchakit.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00173498.PDF

19. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th
/new_bps/sites/default/files/pmqa.pdf]

20. ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. การปกครองส่วนท้องถิ่นกับงานอนามัย สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ph.mahidol.ac.th/phad/research/Book/2560/4local%20government.pdf

21. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ.[อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาระบบราชการ; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : https://www.opdc.go.th/content/Nzc

22. ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก :http://www.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/110/2018/04/%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%AD.pdf

23. สำนักงานพัฒนาระบบราชการ. การบริหารงานภาครัฐแบบมีส่วนร่วม. [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาระบบราชการ; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go..th/content/Mjc4Nw

24. Bonggot Anuroj. THAILAND 4.0 Economy Based Value. [Internet] Bangkok: Deputy Secretary General Thailand Board of Investment; 2005 [20 March 2019]. Available From: https://www.boi.go.th/upload/content/Thailand,%20Taking%20off%20to%20new20heights%20@%20belgium_5ab4e8042850e.pdf

25. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์ ; 2555

26. สุภมาส อังศุโซติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ :
มั่นคงการพิมพ์ ; 2554

27. คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. การบริหารสู่ความเป็นเลิศ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2555 [เข้าถึง เมื่อ 15 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก : https:// mahidol.ac.th/th/2020/mahidol-med-tqc-awards/

28. สายพิณ วรบุตร. บทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ. กาสะลองคำ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2560]; 22 - 29 เข้าถึงได้จาก http://research.crru.ac.th/assets_journal/file_upload/5_2_2554p22.pdf

29. ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : ราชกิจจานุเบกษา ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00173498.PDF

30.สำนักจัดการความรู้. ผลการศึกษาโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังบูรณาการโดยการสำรวจ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก:
http://irem.ddc.moph.go.th/uploads/book/5812fc2606950.pdf

31. ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรี; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF