การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของบุคลากรด้านสุขภาพในจังหวัดเลย

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์
อู่ทอง นามวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของบุคลากรด้านสุขภาพในจังหวัดเลย ใช้การศึกษาเชิงพรรณาแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Study) เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่าง 294 คน ในบุคลากรที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ในทุกอำเภอ ของจังหวัดเลย ดำเนินการในช่วงเดือนพศจิกายน 2561 – มกราคม 2562 ผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพระดับดี โดยประเภทตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการควบคุมหรือจำกัดปริมาณอาหาร การออกกำลังกายทั้งประเภทแอโรบิคและประเภทฟิตเน็ตเสริมมวลกล้ามเนื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ พบว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีการออมอย่างน้อยหนึ่งรูปแบบ ร้อยละ 82.23 มีบ้านเป็นของตนเอง ร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญและคำนึงถึงความปลอดภัยและเอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และร้อยละ 68.84 มีการเตรียมความพร้อมด้านผู้ดูแลในวัยสูงโดยมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับอายุของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างยอมรับความชราภาพในระดับยอมรับได้ดี โดยเพศชายมีคะแนนการยอมรับความชราเฉลี่ยสูงกว่าเพศหญิงและมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)  ร้อยละ 76.92 มีการเตรียมความพร้อมด้านสังคมที่จะอยู่อาศัยหลังการเกษียณ แต่พบว่าร้อยละ 34.44 ของเพศชาย ไม่มีการเตรียมความพร้อมด้านนี้ และร้อยละ 85.01 มีการเตรียมหรือวางแผนเกี่ยวกับงานหรือกิจกรรมที่จะทำหลังการเกษียณ โดยผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเด็นที่ควรเน้นในการส่งเสริมการการเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของบุคลากรด้านสุขภาพ ในจังหวัดเลย คือ การส่งเสริมการออกกำลังกายประเภทฟิตเนส การเสริมมวลกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ การวางแผนทางการเงิน การเตรียมผู้ดูแลในวัยสูงอายุ ความปลอดภัย ความเอื้ออำนวยของที่อยู่อาศัยสำหรับวัยผู้สูงอายุ และการเตรียมความพร้อมด้านสังคมที่จะอยู่อาศัยหลังการเกษียณ

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2550

3. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2559

4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557

5. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

6. วรรณรา ชื่นวัฒนา, ชูชีพ เบียดนอก. การรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2555; 2: 197 – 208.

7. ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร,ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และเพ็ญศรี พิชัยสนิธ. การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 1: 259 – 71

8. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 [internet]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2561] เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph. go.th/new_bps/sites/default/files/strategymoph61_v10.pdf

9. World Health Organization. Ageing and health. [Internet]. 2018 [cited 2018 Apr 20], Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ ageing-and-health

10. คนึงนุช แจ้งพรมมา, พัทธนันท์ คงทอง. ภาวะสุขภาพของบุคลากรที่ทำงานด้านสุขภาพ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 7: 21-28

11. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, กฤษดา แสวงดี, ตวงทิพย์ ธีระวิทย์ และ วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วาสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558; 9: 49 – 60