การจัดสรรเงินและสถานการณ์การเงิน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก ภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Main Article Content

พรพิมล คำเหลือง
สันติ แก้วชูเชิด
กนกกาญจน์ อินศรี
ศุภณัฐ พรหมมณี

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Historical Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดสรรเงิน สถานการณ์การเงินและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสนับสนุนงบประมาณและสถานการณ์การเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ รพ.สต. จำนวน147 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบรวบรวมข้อมูลการสนับสนุนงบประมาณจากแม่ข่าย (CUP) ให้ลูกข่าย (รพ.สต.) แบบรายงานการเงินของ รพ.สต. และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) สัดส่วนร้อยละ (Percentage) อัตรา (Rate) ค่าเฉลี่ย (Average of mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสนับสนุนงบประมาณและสถานการณ์การเงินของรพ.สต. ใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


                         ผลการศึกษา พบว่า การสนับสนุนงบประมาณจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP) ให้กับ รพ.สต. จะดำเนินการตามแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กำหนดเป็นขั้นต่ำและจัดสรรเพิ่มเติม ตามมติที่ตกลงกัน ค่าเฉลี่ยสัดส่วนรายรับต่อรายจ่าย (I/E Ratio) ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ของ รพ.สต. คิดเป็น 1.06 โดยมี รพ.สต. จำนวน 114 แห่ง มีค่าสัดส่วน I/E Ratio ³1 และอีก 33 แห่ง มี I/E Ratio <1 ผลการหาความสัมพันธ์ พบว่า จำนวนประชากรที่รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงาน และผลงานการให้บริการผู้ป่วยนอก มีความสัมพันธ์ แบบแปรผันตรงกับการสนับสนุนงบประมาณแก่ รพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่า r = 0.587, 0.400 และ 0.521 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านระยะทางจาก รพ.สต. ถึง CUP มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับการสนับสนุนงบประมาณ แก่ รพ.สต. ปัจจัยด้านค่าจ้างลูกจ้าง ค่าสาธารณูปโภค ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาครุภัณฑ์ จำนวนประชากรที่รับผิดชอบของ รพ.สต. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และค่ายาเวชภัณฑ์และวัสดุอื่น มีความสัมพันธ์ แบบแปรผันตรง กับสถานการณ์ทางการเงินของ รพ.สต. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 โดยมีค่า r = 0.560, 0.498, 0.475,0.470, 0.342, และ 0.340 ตามลำดับ  

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554. กรอบแนวทางการบริการจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพโดยเครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุข.รายงานการบริหารหลักประกันสุขภาพระดับเขต. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

2.ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ [อินเตอร์เน็ต]. สถานีอนามัยรายวัน; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://hcot.blogspot.com/2011/01/blog-post_17.html

3.สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ในการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ; 2559

4.โสภณ เมฆธน.แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอ ครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ.กรุงเทพฯ;2559

5.กมลรัฐ คำเหลือง และคณะ.การจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมต่อการจัดบริการสถานีอนามัย ในจังหวัดพิษณุโลก ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย: ,มหาวิทยาลัยนเรศวร;2547.