ความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานสาธารณสุขเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่เสี่ยงจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา เมษายน 2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า วิธีการศึกษา สัมภาษณ์พยาบาลห้องฉุกเฉินและเภสัชกร โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนในตำบลที่พบหัวสัตว์ที่ตรวจพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 2 หัว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 5 เมษายน 2561 จำนวน 10 แห่ง จำนวน 19 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เดือนเมษายน 2561 ผลการศึกษา: พบว่ามีแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า (กรมควบคุมโรค)ร้อยละ 90 ผ่านการอบรมตามแนวทางเวชสำหรับผู้สัมโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 80 ไม่มีการจัดทำแผ่นพับหรือโปสเตอร์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าหรือวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อถูกสุนัขร้อยละ 70 ไม่ได้นำข้อมูลผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้ามาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ลดจำนวนผู้สัมผัสโรคร้อยละ 70 มีจำนวนวัคซีน/อิมมูโนโกบลูลินมี เพียงพอร้อยละ 55.45 มีการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้แนวทางการบริหารจัดการกรณีวัคซีนหรืออิมมูโนโกบลูลินกรณีไม่เพียงพอคือยืมโรงพยาบาลอื่นร้อยละ77.92 สรุปและวิจารณ์ผล: การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคในคน ให้ประชาชนที่มีประวัติถูกสัตว์กัดข่วนให้มารับการฉีดวัคซีนให้ตรงเวลาและครบชุดตามมาตรฐานจะช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าได้ และการกระจายตัวของโรคพิษสุนัขบ้าอาจสัมพันธ์กับระดับความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ที่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะในสุนัขได้ ดังนั้นหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขทุกระดับต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านกำลังคน ความรู้ ยาและเวชภัณฑ์สำหรับป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.โรคพิษสุนัขบ้า (ออนไลน์). 2561 [เข้าถึงวันที่ 9 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.ku.ac.th/e–magazine/april48/know/rabies.html
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 http://www.boe.moph.go.t/boedb/surdata/506wk/y58/d42_3158.pdf
3. ธีรพงศ์ ยืนยงโอฬาร. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2549–2554 [ออนไลน์]. 2555[เข้าถึงวันที่ 9 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://dcontrol.
4. องค์อร ประจันเขตต์ เวชสารแพทย์ทหารบก (Royal Thai Army Medical Journal) Vol 65 No 3: July-September, 2012https://tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/5455 15พ.ค 2561
5. อรพิรุฬห์ สการะเศรณี และคณะ การสำรวจความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ จากการสอบสวนกรณีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จังหวัดจันทบุรี ปี 2558 OSIR, September 2017, Volume 10, Issue 3, p.1-8 15พ.ค 2561