ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลสวรรคโลก

Main Article Content

siriwan thonglert
โรงพยาบาลสวรรคโลก

บทคัดย่อ

          การดูแลทางการพยาบาลที่เป็นเลิศในผู้ป่วยมะเร็ง คือ การดูแลจัดการอาการรบกวน และอาการข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง ซึ่งการปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งต้องเป็นไปภายใต้มาตรฐานการพยาบาล เป็นการปฏิบัติที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้รับบริการมีภาวะสุขภาพที่ดีที่สุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ปัญหาสุขภาพได้รับการแก้ไข มีการใช้กระบวนการพยาบาลแก่ผู้รับบริการอย่างเป็นองค์รวม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 30 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 22 คน  เก็บข้อมูลจากกลุ่มควบคุมก่อนกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2)แบบประเมินอาการรบกวนของผู้ป่วยมะเร็ง 3)แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย 4)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย 5)แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง และ6)แบบประเมินความพึงพอใจต่อการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตามแนวทาง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์และสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งมีค่าคะแนนเฉลี่ยอาการ

รบกวน (x=3.76, S.D=1.05) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ(x=4.81, S.D=1.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)


  1. กลุ่มทดลองที่ได้รับการดูแลตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ

ต่อการดูแล (x=41.10, S.D=2.55) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ (x=35.13,S.D=5.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)


  1. คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งในกลุ่มควบคุม(x=22.16, S.D=10.56) และกลุ่มทดลอง (x=24.43, S.D=4.15) ไม่แตกต่างกัน

  2. พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับสูง

(x=65.77, S.D=3.36) และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตามแนวทางอยู่ในระดับสูง (x=7.63, S.D=0.49)


ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งทำให้อาการรบกวนของมะเร็งลดลง ซึ่งพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ควรนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งไปใช้ในการดูแล เพื่อลดอาการรบกวนของมะเร็งที่ครอบคลุมและทำให้เกิดความพึงพอใจต่อการดูแล


คำสำคัญ: ผู้ป่วยมะเร็ง, แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Cancer Research UK. Annual report and accounts Internet. Cancer Institute in May 2017 cited 2020 Jun 10. Avialable from https://www.cancerresearchuk.org /sites/default/files/cruk_annual_report_ 2016-17.pdf
2. สุวรรณี สิริเลิศตระกูล และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ: สินทวีกิจพริ้นติ้ง; 2555.
3. วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. การพยาบาลที่เป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2554.
4. กองการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
5. หน่วยเวชระเบียน. รายงานสถิติประจำปี. สวรรคโลก: งานเวชระเบียนโรงพยาบาลสวรรคโลก; 2562.
6. Dodd, M.,Janson, S., Facione, N.
Avancing the seience of symptom
Management. Journal of Advanced
Nursing, 2001; 33: 668-676.
7. Cohen, J. Statistical Power Analysis for Behavioral Sciences (2nded.).New Jersey: Lawrence Erlbanm Associates; 1988.
8. สุดารัตน์ บุตรลักษณ์รัชนี นามจันทรา และ วารินทร์ บินโฮเซ็น.. ประสิทธิผลของแนวทางปฏิบัติการพยาบาลต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลาม. วารสารสภาการพยาบาล; 2560: 10:
74-86.
9. กาญจนา อุบลพงศ์,ฑิฆัมพร ชาวขมิ้น, อรทัย พงษ์อำไพและ ชนิดา พื้นผา. การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล; 2555: 39: 51-64.
10. ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. เชียงใหม่: กลางเวียง; 2556.
11. กองการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาล. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์; 2562.
12. ภาวดี วิมลพันธุ์, พรทิวา คำวรรณ, นลินี แข็งสาริกิจ และกัตติกา พิงคงสัน. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดของผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2555;
5: 2-6.