ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สกินไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมสมุนไพร ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2

Main Article Content

วิทิตา ไปบน
วศิมน จูฑะภักดี
ปิ่นฑนา ดวงสมบัติ

บทคัดย่อ

ปีงบประมาณ 2559-2561 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก ทำการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สกินไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมสมุนไพรซึ่งวางจำหน่ายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 โดยการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาจำนวน 116 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลจากผลการตรวจวิเคราะห์หาสารประกอบของปรอทซึ่งเป็นสารห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง รวมทั้งวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่าง และการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขปี 2559 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เลขที่ 551/2553 ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว โดยวิเคราะห์ครีมที่มีข้อบ่งใช้ในการเป็นสกินไวท์เทนนิ่ง พบไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 44 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40)  โดยพบปนเปื้อนสารประกอบปรอท จำนวน 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.9) พบจำนวนแบคทีเรีย ยีสต์และราทั้งหมดที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ (Total viable aerobic bacteria count and Total yeasts and moulds count) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 24 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20.7) และพบค่าความเป็นกรด-ด่างของผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 19 ตัวอย่าง (ร้อยละ 16.3) ของตัวอย่างทั้งหมด ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบการปนเปื้อนเชื้อ Clostridium  spp.  2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 1.7) การปนเปื้อนปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ดังกล่าว อาจมาจากการปนเปื้อนจาก ดิน น้ำ อากาศ และกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขอนามัย   จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสนับสนุนและให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังคุณภาพผลิตภัณฑ์สกินไวท์เทนนิ่งที่มีส่วนผสมสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ประเทือง รอดเพ็งสังคหะ, วรรณา หงส์หิรัญเรือง, สุดธิดา กงทอง. การศึกษาคุณภาพเครื่องสำอาง สิว ฝ้า กันแดด. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2542; 41(4): 415-429.

2. อภิชาต ตันธนวัฒน์, ทัศนี ปานผดุง, ปริศนา นิยมคำ. ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก และสารประกอบของปรอทในเครื่องสำอาง สิว-ฝ้า ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2552; 51 (3-4): 224-230.

3. จิราภรณ์ อ่ำพันธุ์, ราเมศ กรณีย์, ทิพวัลย์ จิตตะวิกูล. ปรอทแอมโมเนียและไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอางสิว-ฝ้าที่จำหน่ายในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2547; 46 (4):222-228.

4. นันทนา กลิ่นสุนทร, ชมพูนุท นุตสถาปนา, ตวงพร เข็มทอง, ปริชญา มาประดิษฐ์. สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่ทำให้หน้าขาว ในเขตภาคกลางตอนล่าง ระหว่างปี 2553-2556. วารสารอาหารและยา 2556; 20 (3): 28-36.

5. อรลักษณา แพรัตกุล. สารทำให้ผิวขาว. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 2554; 36 (3): 508-517.

6. ประเทือง รอดเพ็งสังคหะ.สารทำให้ผิวขาว.ความรู้เกี่ยวกับ สิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 15. กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2544; 9-14

7. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2539) เรื่องกำหนดวัตถุห้ามใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง, (2539, 23 กรกฎาคม พ.ศ.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 113 ตอน 59 ง.

8. กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รวมกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอาง. นนทบุรี: ฝ่ายงานกำหนดมาตรฐานกลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2555.

9. วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล. คู่มือการผลิตเครื่องสำอางขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2558.

10. สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์, นพรัตน์ พรมชัย, นิธิดา จิตรนามกร. คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของเครื่องสำอางผสมสมุนไพรที่จำหน่ายทางการค้า. ใน: หนังสือการประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12” มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม; 2556. หน้า 564-572

11. พิมลวรรณ โพคาพันธ์. (2554). การตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยวิธีมาตรฐานและวิธีพีซีอาร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์. บัณฑิตวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

12. มติชน ออนไลน์. ข่าวประจำวัน เร่งยกระดับเครื่องสำอาง สมุนไพรพื้นบ้านหลัง ตรวจพบตกเกณฑ์มาตรฐาน [อินเตอร์เนต]. กรุงเทพ. หนังสือพิมพ์มติชน; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1358315717&grpid=03&catid=19

13. สิรินันท์ ไทยตระกูลพาณิช, สิริมา สายรวมญาติ,และสุวรรณา เธียรอังกูร. คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพรระหว่าง ปี 2545-2548. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;15 (5): 778-786.

14. Flanagan, R.J., Braithwaite, R.A., Brown, S.S., Widdop, B, & de Wolff, F.A. Basic analyticaltoxicology. Geneva: World Health Organization; 1995.

15. United State Pharmacopoeia and National Formulary (USP41-36). Microbiological Examination of Nonsterile Products : Test16. ประกาศสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์บำรุงผิว มผช. 551/2553; 2553:1621.

17. ISO 21149:2017. Cosmetics - Microbiology - Enumeration and detection of aerobic mesophilic bacteria; 2017.

18. ISO 16212:2017. Cosmetics - Microbiology -Enumeration of yeast and mould; 2017.

19. ISO 22718:2015. Cosmetics - Microbiology -Detection of Staphylococcus aureus; 2015.

20. ISO 22717:2015 Cosmetics - Microbiology -Detection of Pseudomonas aeruginosa; 2015.

21. ISO 18416:2015. Cosmetics - Microbiology-Detection of Candida albicans; 2015. Rockville, MD: ; 2018: 109 – 120.