การเปรียบเทียบการตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาระหว่างวิธีทดสอบความไวต่อยาแบบดั้งเดิม และวิธี Line Probe Assay (LPA)

Main Article Content

วราพร ยิ้มแย้ม
ภิญญดา สมศรี
ธนกร โพธิ์วงศ์

บทคัดย่อ

 


วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศต่างๆทั่วโลก ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่ม 30 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาสูง มาตรการการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมและได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว จึงเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ที่สำคัญในแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560 – 2564 ที่ประเทศไทยจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (End TB strategy) ขององค์การอนามัยโลก การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยา      มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อและการทดสอบความไวต่อยาซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน ข้อเสียของวิธีนี้คือใช้เวลานานในการรายงานผล ปัจจุบันมีเทคนิควิธีทางอณูชีววิทยาซึ่งสามารถรายงานผลได้รวดเร็วกว่าและถูกนำมาใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาระหว่างวิธี Line Probe Assay (LPA) โดยชุดทดสอบ Genotype® MTBDRplus Ver2.0 กับวิธีทดสอบความไวต่อยาแบบดั้งเดิม (Conventional DST) จากตัวอย่างเสมหะที่เก็บจากโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า การตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาด้วยวิธี LPA มีค่าความไวร้อยละ  80 และมีค่าความจำเพาะร้อยละ  97.9 ในการตรวจพบเชื้อวัณโรคแบบ RIF resistance ส่วนการตรวจพบเชื้อวัณโรคแบบ INH resistance มีค่าความไวร้อยละ 81.3 และค่าความจำเพาะร้อยละ100 และมีค่าความไวในตรวจพบวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) ร้อยละ 64.7 นอกจากนี้ พบว่า รูปแบบการดื้อยาแบบ RIF resistance ส่วนใหญ่เกิดจากการ mutation ของยีน rpoB ตำแหน่ง MUT3 คิดเป็นร้อยละ 33.3 ส่วนรูปแบบการดื้อยาแบบ INH resistance ส่วนใหญ่เกิดจากมีการ mutation ของยีน katG ตำแหน่ง MUT1 คิดเป็นร้อยละ 65.4 จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธี LPA โดยชุดทดสอบ Genotype® MTBDRplus Ver2.0 มีความไวและความจำเพาะสูงเหมาะสำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อวัณโรคดื้อยา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization. Global tuberculosis report 2018 [monograph on the internet]. Geneva: WHO; 2018 [cited 2019 May 29]. Available from: https://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

2. Bureau of Epidemiology. National Disease Surveillance (Report 506).Thailand [cited 2019 May 29]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y61/d32_5261.pdf

3. Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control (2018). National Tuberculosis Control Programme Guideline Thailand 2018 (2nded). Bangkok: Department of Disease Control. pp 17-20.

4. Kelly W.S, Kathlew E, Susan K,et all (2014). GLI Mycobacteriology Laboratory Manual (1st ed). Geneva. pp 32-50.

5. World Health Organization. Molecular line probe assays for rapid screening of patients at risk of multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB). Policy statement [internet]. 2008 [cited 2019 July 26]. Available from: https://www.who.int/tb/features_archive/policy_statement.pdf

6. Anek-vorapong R, Chalinthorn S, Podewils LJ, McCarthy K, Ngamlert K, Promsarin B, et al. Validation of the GenoType® MTBDRplus assay for detection of MDR-TB in a public health laboratory in Thailand. BMC Infect Dis 2010; 10: 123.

7. Suttha P, Panitantum N, Chathaisong P and Thawornwan U. Comparative Efficacy of Line Probe Assay with Conventional Culture for Detection of Drug-Resistant Mycobacterium tuberculosis. J Med Assoc Thai 2018; 101 (7): 883-9.

8. Suthum K, Tipkrua N, Komolsiri S and Phumpaung P. Efficiency comparison of AnyplexTM MTB/NTM Real-time Detection and AnyplexTM II MTB/MDR Detection with Genotype MTBDRplus Ver2.0 for detection Mycobacterium tuberculosis and MDR-TB. J Disease Control 2018; 44 (3): 293-304.

9. HAIN Lifescience. (2015). Instructions for Use GenoType MTBDRplus VER 2.0 06/2015. [cited 2019 Aug 26]. Available from: https://www.hain-lifescience.de>packungsbeilage>download

10. Raizada N, Sachdeva KS, Chauhan DS Malhotra B, Reddy K, Dave P.V, et al. A Multi-Site Validation in India of the Line Probe Assay for the Rapid Diagnosis of Multi-Drug Resistant Tuberculosis Directly from Sputum Specimen. J plos 2014; 9(2).

11. Boonaiam S, Chaiprasert A, Prammananan T and Leechawengwongs M. Genotypic analysis of genes associated with isoniazid and ethionamide resistance in MDR-TB isolates from Thailand. Clin Micobiol Infect 2010; 16:396-39