การศึกษาการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของหน่วยงานตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005
Main Article Content
บทคัดย่อ
“การศึกษาการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของหน่วยงานตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านสื่อสารความเสี่ยงตามสมรรถนะกฎอนามัยระหว่างประเทศ JEE/IHR 2005 ของหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 5 จังหวัด (พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์) และตัวแทนเครือข่ายที่ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการตอบแบบสอบถาม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง พฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ สัดส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธี การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา มีข้อค้นพบจากการศึกษา ดังนี้ ในภาพรวมตามตัวชี้วัด 5 ประเด็น พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ไม่มีการดำเนินงานตามแบบแผนของงานสื่อสารความเสี่ยงตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005 รวมถึงการจัดระบบในการดำเนินงานด้านสื่อสารความเสี่ยง ปัญหาที่พบทุกหน่วยงานในระดับจังหวัด ได้แก่ด้านโครงสร้างในการกำหนดงานและผู้รับผิดชอบเฉพาะด้านสื่อสารความเสี่ยง สำหรับหน่วยงานที่มีการดำเนินงานบางส่วน พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานไม่เข้าใจบทบาทที่ชัดเจนในการดำเนินการสื่อสารความเสี่ยงตามมาตรฐานJEE/IHR 2005 ขาดการรวบรวมเอกสาร แผนงาน ที่เป็นระบบอย่างเพียงพอ สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานด้านสื่อสารความเสี่ยงตามมาตรฐาน JEE/IHR 2005 ของหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัด ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 2 พบว่า ควรมีการกำหนดโครงสร้าง /ผู้รับผิดชอบหลักในการประสานงาน โดยมีหลักฐาน คำสั่งและแผนผังในการดำเนินงานที่ชัดเจน ตลอดจนควรมีการดำเนินงานในรูปแบบบูรณาการร่วมกับเครือข่ายมากขึ้น เพื่อการขับเคลื่อนและประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน สามารถวางแผนขับเคลื่อนให้นำไปใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับบริบทพื้นที่
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม: กรุงเทพฯ; 2558.
2.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนชาวไทย ประจำปี 2561.ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม: กรุงเทพฯ; 2561.
3.กรมควบคุมโรค. คู่มือการปฏิบัติงานสื่อสารในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข: สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
4. กรมควบคุมโรค. คู่มือการปฏิบัติงานสื่อสารในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข: สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
5. พาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์, สุดจิตต์ ตรีวิจิตรศิลป์, กรกฎ ดวงผาสุข, สรุปโครงการประชุมเชิงวิชาการ การสื่อสารความเสี่ยง เพื่อตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และโรคติดต่ออุบัติใหม่โดยความร่วมมือองค์การอนามัยโลกสำนักงานประเทศไทยและกรมควบคุมโรค. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม: กรุงเทพฯ; 2558.
6. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ.รายงานประจำปี 2561.ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม: กรุงเทพฯ; 2561.
7. Becker, M. The Health Belief Model and personal health behavior. Thorofare, NJ: Charles B. Slack. 1974.
8. Rosenstock, I.M, Strecher, V.J.,& Becker, M.H. Social learning theory and the Health Belief Model. Health Education. Quarterly, 15(2),1988. 175-183.
9. World Health Organization. IHR 2005.Geneva, WHO, 2005.
10. World Health Organization.Emergency Response Framework.Geneva. WHO, 2013.
11. Best. J. w. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc. Bandura, A. 1977. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H.Freeman and Company.