การพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขต ด้านการป้องกันควบคุมโรค เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตด้านการป้องกันควบคุม
โรคนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา แบบผสม มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้น (1) ศึกษาวิเคราะห์สมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุข
ระดับเขตฯ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 18 คน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้น (2) สร้างและตรวจสอบต้นแบบ
สมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตฯ โดยนำผลการศึกษาที่ได้จากขั้นที่ (1) มาสร้างเป็นต้นแบบสมรรถนะ
ประกอบด้วยชื่อ คำนิยาม ระดับการวัดและพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะในแต่ละระดับ ตรวจสอบความเหมาะสมและ
ความเป็นไปได้โดยการสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้น (3) พัฒนา
สมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตฯ โดยวิธีเรียนรู้จากการปฏิบัติ ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์ปัญหา
สมรรถนะจากการประเมินความพึงพอใจผู้รับการนิเทศ และจากต้นแบบสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับ
เขตฯ (2) ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตฯ ด้วยการจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะ การ
ดำเนินการปฏิบัติ การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการเรียนรู้ โดยร่วมสังเกตการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณา ผลวิจัยพบว่า (1) ต้นแบบสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตด้าน
การป้องกันควบคุมโรค มี 8 ด้าน ได้แก่ (1.1) การสอนงานและพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา (1.2) การวางแผนงานป้องกัน
ควบคุมโรค (1.3) การศึกษาวิจัยป้องกันควบคุมโรค (1.4) การกำกับติดตาม ประเมินผล (1.5) การพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานป้องกันควบคุมโรค (1.6) การประสานนิเทศงานสาธารณสุข (1.7) การถ่ายทอดองค์ความรู้การ
ป้องกันควบคุมโรค (1.8) การสร้างแรงจูงใจในการป้องกันควบคุมโรค (2) ต้นแบบสมรรถนะผู้นิเทศงาน
สาธารณสุขระดับเขตด้านการป้องกันควบคุมโรค มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ชื่อสมรรถนะ นิยามสมรรถนะ ระดับ
สมรรถนะ และพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะแต่ละระดับ รวม 8 ด้าน 76 พฤติกรรมบ่งชี้ ผลการตรวจสอบโดย
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ (3) ผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขตฯ ได้รับ
การพัฒนาสมรรถนะ ดังนี้ (3.1) ทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์ ระบุปัญหาที่พบจากการดำเนินการควบคุมโรค
ของจังหวัดได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของพื้นที่ (3.2) ทักษะความคิดรวบยอดและสรุปเชิงประเด็น
(3.3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันควบคุมโรค ผ่านการนิเทศและตรวจราชการใน 5 โรค ได้แก่ การ
ป้องกันเด็กจมน้ำเสียชีวิต การบาดเจ็บจาการจราจรทางถนน การป้องกันวัณโรค และศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ
ฉุกเฉิน จากการประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะพบว่า ผู้นิเทศงานทุกคนสามารถดำเนินการข้างต้นได้ และมีความ
พึงพอใจต่อการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 79.00 และประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 84.80
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดต่อจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาตามแนวชายแดนไทยพม่า [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ26 พ.ค. 2556]. แหล่งข้อมูล:http://health.kapook.com/view21865.html
3. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.ความรู้เรื่องสมรรถนะ [อินเทอร์เน็ต]. 2550[สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/ocsc/th./uploads/File/SM_book01.pdf
4. McClelland DC. A competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: McBer and Company; 1975.
5. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.ความรู้เรื่องสมรรถนะ [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/ocsc/th./uploads/File/SM_book01.pdf
6. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค.2556]. แหล่'ข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.phpoption=com_content&view=article&id=
2839&Itemid=246
7. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.พจนานุกรมสมรรถนะ [อินเทอร์เน็ต]. 2554[สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค. 2556]. แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/OCSC/th/uploads/File/SM_ append06.pdf
8. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะ[อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 26 พ.ค.2556]. แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=category
&layout=blog&id=48&Itemid=252
9. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย.กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลีฟวิ่ง; 2556.
10. Stufflebeam D.L, Madaus G.F, Educational evaluation and decision-making. ILLInois:
Peacock Publishing; 1971.
11. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126, ตอนที่ 98 ก (ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2552).
12. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการพลเรือน[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค.2557]. แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/csti/strategy
13. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 199, ตอนที่ 99 (ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2545).
14. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค.2557]. แหล่งข้อมูลhttp://center.bkkthon.ac.th/journal/upload/doc/spit/13/files/8_159.pdf
15. สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะประเมินศึกษานิเทศ สายงานนิเทศการศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้น
เมื่อ 6 พ.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล:http://www.bpi.ac.th/bpi/data_upload/2_3(1).pdf
16. เกษมศักดิ์ สิงห์เดช. การพัฒนาสมรรถนะ[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล:http://hq.prd.go.th/plan/ewt_dl_link.php?nid=2279
17. สุดา ทองทรัพย์. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลราชวิถี[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค.2557]. แหล่งข้อมูล: http://www.
tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=166089
18. กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค.2557]. แหล่งข้อมูล: http://www.kmutt.ac.th/jif/public.../ref%20data.php?...yr...
19. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะ[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 พ.ค.2557]. แหล่งข้อมูล:http://http://www.ocsc.go.th/ocsc/content&view=category&layout=blog&id=
48&Itemid=252
20. ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. การบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซนเตอร์;2551.
21. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์เซนเตอร์; 2551.
22. สมาคมนักบริหารการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. การจัดการงานบุคคล[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 16 พ.ค.2558]. แหล่งข้อมูล:https://humanrevod.wordpress.com/2012/03/16/talent-management-factors/
23. Patricia E. Benner. ระดับสมรรถนะ[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 16 พ.ค.2558]. แหล่งข้อมูล: https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/.../20-10-17-58?...187...
24. สำนักงาน ก.พ. การเสริมสร้างความพร้อมในการพัฒนาข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [ สืบค้นเมื่อ 16พฤษภาคม 2558]; แหล่งข้อมูล:http://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/km_
accsm.pdf
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล [อินเทอร์เน็ต]. 2558[สืบค้นเมื่อ 16 พ.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล:https://components-of-a-competencymodel/
26. กรมควบคุมโรค. รายงานผลการศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะผู้นิเทศงานสาธารณสุขระดับเขต. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2556.
27. วรินทร บุญยิ่ง. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้แนวคิดสมรรถนะเป็นฐานในการพัฒนาการศึกษา สู่ประชาคมอาเชียน.วารสารครุศาสตร์ 2555;39:83-96.
28. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556-2561. กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย;2556.
29. สำนักตรวจและประเมินผล. แผนการตรวจราชการและนิเทศงานระดับกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.240.30/bie/home
30. สำนักตรวจและประเมินผล กระทรวงสาธารณสุข. การตรวจราชการและนิเทศงาน[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค.2559]. แหล่งข้อมูล:http://bie.moph.go.th/bie/photo/e-books/news770.pdf
31. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. นโยบายสำคัญกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2559].แหล่งข้อมูล:http://bps.moph.go.th/new_bps/policy61_documen
32. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. หมวด 4 การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล:http://www.opdc.go.th/uploads/files/.../Doc241258
33. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28ม.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://https://www.opdc.go.th/special.php?spc