ผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

Rujee Prathantheerakul
Buaploy Promjang
Suthichai Sirinual

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi research) แบบกลุ่มเดียว,ประเมิน
โดยการสอบก่อนและหลังการศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน30ราย ดำเนินการศึกษาวิจัยระหว่าง เดือนพฤศจิกายน2558 – กรกฎาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการสร้างเสริมการ
รับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นประกอบด้วยการให้ความรู้และเอกสารเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และการฝึก
ทักษะหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในการอุ้มลูกกินนมแม่ โดยจัดเป็นกิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบประเมิน
สมรรถนะแห่งตนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงค่าต่ำสุด-สูงสุดค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติ Pair T-Test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุน้อยสุด 15 ปี มากสุด 19 ปี
อายุเฉลี่ย 17.13 ปี มีรายได้ต่ำสุด1,000 บาท สูงสุด 9,000 บาท รายได้เฉลี่ย 5,700 บาท การศึกษาระดับมัธยมต้นร้อยละ 55.3 อาชีพแม่บ้าน/ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ40 สถานภาพคู่ (อยู่ด้วยกัน)ร้อยละ93.3 และลักษณะครอบครัวขยาย
ร้อยละ73.3 ความรู้หลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย แตกต่างกันโดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่.05( p-value .001)(x̄ก่อน=
11.33, x̄หลัง=12.43) สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อการเลี้ยงลูกด้วย แตกต่างกันแบบไม่มีนัยสำคัญที่ .05(p-value .197)

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Thailand Multiple Indicator Cluster Survey: MICS, 2012. United Nations Children’sFund. (preliminary report)

2. Thailand Multiple Indicator Cluster Survey:MICS, December 2005-February 2006. United Nations Children’s Fund.

3. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี2554, December 6. 2555.

4. งานคลินิกพิเศษ,โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย.ยอดรายงานคลินิกฝากครรภ์ ปี2555-2557.

5. WHO. Adolescent pregnancy. World Health Organization 2010 December 6. Available from:URL:http://www.who.int/making_pregnancy_safer/topics/adolescent_pregnancy/en/print.html

6. Ryan, A. S., Wenjun, Z., & Acosta, A.(2002). Breastfeeding continues to increase into the new millennium. Pediatric, 110(6),

7. Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control.New York: W.H.Freeman and Company. Journal of Clinical Psychology, 36, 215–225.

8. รม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์และปกเจริญผล.2540.

9. กัลยา วานิชย์บัญชา.การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.2542.

10. นงนุช ภัทราคร. สถิติการศึกษา. กรุงเทพ ฯ :สุวีริยาสาสน์.2538.

11. บุญธรศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโขและทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2535.

12. Cohen ,L.,and Manion,L. Research Methodin Education.3rd.Ed.London:Routledge.1989.1103-1109.