ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

Supanee Pattamayotin

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสวรรคโลก ระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 จานวน 353 รายวิธีการศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายโดยมีกระบวนการคัดเลือกเข้าและออก สอบถามข้อมูลทั่วไปโรคประจาตัว การใช้ยา อาการปวดน่อง ประเมินสภาพเท้า ตรวจความรู้สึกที่เท้าด้วย monofilament วัดความดันโลหิตที่แขน และที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง นามาคานวณหาค่าดัชนีความดันเลือดเทียบหลอดเลือดแดงแขนกับขา (AnkleBrachial Index, ABI) เพื่อใช้วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายโดยในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายจะได้รับการประเมินพฤติกรรมการดูแลเท้า ก่อนและหลังให้ความรู้ ฝึกทักษะดูแลเท้าด้วยบัญญัติ 10ประการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบ chi-square, fisher’s exact test และการทดสอบ t- testผลการวิจัยพบความชุกของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 15.6 ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย คือ เพศหญิง (odds ratio = 4.18, 95% CI 1.735-10.105) และการสูบบุหรี่(odds ratio = 0.23, 95% CI 0.092-0.619) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายภายหลังการให้ความรู้ และสอนทักษะดูแลเท้าด้วยบัญญัติ 10 ประการสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 15.6เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โดยมีสัดส่วนสูงในเพศหญิง และในผู้ที่สูบบุหรี่ การให้ความรู้ ฝึกทักษะเรื่องการดูแลเท้าด้วยบัญญัติ 10 ประการ ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดูแลเท้าในระดับสูง ดังนั้นควรจัดให้มีการตรวจABI เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวานทุกราย และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผล และการถูกตัดขา

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. American Diabetes Association. Peripheralarterial disease in people with diabetes. Diabetes Care.2003; 26: 3333-3341.

2. Jude EB, Oyibo SO, Chalmers H, Boulton AJ. Peripheral arterial disease in diabetes and non-diabetes patients: a comparison of severity and outcomes. Diabetes Care.2001; 24: 1433-1437.

3. Heald CL, Fowkes FG, Murry GD. Risk of mortality and cardiovascular disease

4. associated with the ankle-brachial index: systematic review. Atherosclerosis 2006;189; 61-69.

5. Hirch AT, Hartman L, Town RJ, Virnig BA. National health care costs of peripheral arterial disease in the Medicare population, Vasc Med 2008; 13: 209-215.

6. Dick F, Diehm N, Galimanis A, Husmann M, Schmidli J, Baumgartner I. Surgical or endovascularization in patients with critical limb ischemia: influence of diabetes mellitus on clinical outcome. J Vasc Surg 2007; 45: 751-761.

7. European Society of Cardiology. ESC Guidelines on the diagnosis and treatment of peripheral artery disease. European Heart Journal. 2011; 32: 2851-2906.

8. พัลลภ ลิ่วนาวงศ์ลาภ. การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานเพื่อการป้องกันการถูกตัดขาโรงพยาบาลบางบ่อ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2550; 1(ฉบับเสริม 2): 346-351.

9. เนาวรัตน์ เสนาไชย, อรสา พันธ์ภักดี, และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานและความรู้กับความสามารถของพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.2557; 25: 4-16.

10. กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม. โครงการภาระและระบบการดูแลโรคหลอดเลือดส่วนปลาย.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ;2558.

11. งานข้อมูลสถิติ. สรุปผลงานทีมการดูแลผู้ป่วย (patient care team) ประจาปีงบประมาณ 2560. สุโขทัย: โรงพยาบาลสวรรคโลก; 2560.

12. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจาปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

13. องอาจ นัยพัฒน์. วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์.

14. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

15. Leelawattana R, Pratipanawatr T, Bunnag P, Kosachunhanun N, Suwanwalaikorn S, Krittiyawong S, et al. Thailand diabetes registry project: prevalence of vascular complications in long-standing type 2
diabetes. J Med Assoc Thai. 2006; 89 Suppl 1: S54-59.

16. Marso SP, Hiatt WR. Peripheral arterial disease in patients with diabetes. J Am Coll Cardio 2006; 47: 921-929.

17. หนึ่งฤทัย จันทร์อินทร์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, และพรทิพย์ มาลาธรรม. พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 . รามาธิบดีพยาบาลสาร 2559; 21: 199-213.