ผลของการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 ต่อระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ ในคลินิกหมอครอบครัว เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 ต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำนวน 64 ราย ที่มารับบริการ ณ คลินิกหมอครอบครัว เทศบาลตำบลในเมือง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึงมกราคม พ.ศ. 2561 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดและจับคู่ให้มีความคล้ายคลึงในด้าน เพศ อายุ ระดับความดันโลหิตและระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง สุ่มกลุ่มตัวอย่างในแต่ละคู่เข้ากลุ่มทดลอง 32 คนและกลุ่มควบคุม 32 คน กลุ่มทดลองได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาปกติร่วมกับปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 (17)โดยปฏิบัติสมาธิบำบัดวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาปกติ ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติในการวัดความดันโลหิตก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง independent t-test และ paired t-testผลการวิจัยพบว่า หลังการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิคต่ำกว่าก่อนการปฏิบัติสมาธิบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่ปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 มีค่าเฉลี่ยของระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิค ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวทางการรักษาปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT 1 สามารถใช้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. Mills KT, Bundy JT, Kelly TN, Reed JE,Kearny PM, Reynolds K, Chen J, et al. Global Disparities of Hypertension Prevalence and Control: A Systematic Analysis of Populationbased
Studies from 90 Countries. Circulation2016;134:441-50.
3. Kotchen TA. Hypertensive Vascular Disease.In: Kasper DL, Hauser SL, Jameson JL, Fauci AS, Longo DL, Loscalzo J, editors. Harrison’s
Principles Of Internal Medicine.19th ed.Newyork: McGraw-Hill; 2015; 1611-27.
4.วิชัย เอกพลากร, บรรรณาธิการ. สำนักงาน สำรวจสุขภาพประชาชนไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2.
นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด,2553.
5. ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล, บรรณาธิการ. รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
6. ศูนย์ข้อมูลสาธารณสุข สุโขทัย 2560.[อินเตอร์เน็ต].สุโขทัย; สืบค้นเมื่อวันที่ 9กันยายน 2560. เข้าถึงได้จากhttp://info.skto.moph.go.th/ncd_register
7. HDC:Health Data Center[อินเตอร์เน็ต].นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข; 2560.[เข้าถึงเมื่อ10 ต.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.
php?source
8. Whelton PK, Carey RM, Aronow WS, Casey DE, Collins KJ, Himmelfarb CD, et al.ACC/AHA/AAPA/ABC/ACPM/AGS/APhA/ASH/ASPC/NMA/PCNA Guideline for thePrevention, Detection, Evaluation, andManagement of High Blood Pressure in Adults A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. Sep 2017.
9. สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ปรับปรุง พ.ศ. 2558.กรุงเทพฯ: 2558.
10. Kjeldsen SE, Naditch-Brule L, Perlini S,Zidek W, Farsang C: Increased prevalence of metabolic syndrome in uncontrolled hypertension across Europe: the Global Cardiometabolic Risk Profile in Patients with
hypertension disease survey. J Hypertens 2008; 26:2064–70.
11. ธิติสุดา สมเวที, ลินจง โปธิบาล, ภารดี นานาศิลป์. ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2554; 38: 81-92.
12. Cornwall J, Phillipson OT. Mediodorsal and reticular thalamic nuclei receive collateral axons from prefrontal cortex and laterodorsaltegmental nucleus in the rat. Neuroscience Lett1988; 88: 121-6.
13. Laze SW, Bush G, Gollub RL, Fricchione GL, Khalsa G, Benson H. (2000). Functional brain mapping of the relaxation response and meditation [Autonomic Nervous System].
Neuroreport 2000;11, 1581-85.
14. ประภาส จิบสมานบุญ. อุบล สุทธิเนียม.สมาธิบำบัด SKT 2 ต่อระดับความดันโลหิตและตัวบ่งชี้ทางเคมี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2556;29: 122-33.
15. สุภาพร แนวบุตร. ผลของการปฏิบัติเทคนิคสมาธิเพื่อการเยียวยา SKT 2 ต่อระดับความดันโลหิตของผูป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. Journal of Nursing and Health Sciences
2015;9: 14-22.
16. Wolff M, Sundquist K, Lonn SR, Midlov P.Impact of yoga on blood pressure and quality of life in patients with hypertension – a controlled trial in primary care, matched for systolic blood
pressure. BMC Cardiovascular Disorders 2013;13:111.
17. สมพร กัณทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2549.
18. Mathias CJ. Management of hypertension by reduction in sympathetic activity. Hypertension 1991;17(4 Suppl): III 69-74.
19. Schneider RH, et al. A Randomized controlled trial of stress reduction in the treatment of hypertension in African-American during one year. American Journal of Hypertension 2005;18: 88-98.