ผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้สูงอายุ โดยการประยุกต์ใช้ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มผู้สูงอายุ ประกอบด้วยกิจกรรม ได้แก่ 1) 1การจัดกิจกรรมเรียนรู้ผลจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2) กระบวนการสร้างความรู้ในกลุ่มทดลอง 3) กระบวนการสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.83 และ 0.81 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired samples t-test และ Independent t-testผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่มีอายุ 60 – 62 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.3 และร้อยละ 50.0 และมีระยะเวลาในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6–10 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.0 และร้อยละ 40.0 ตามลำดับโดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.001 เมื่อทำการเปรียบ เทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ15 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/pocket_work_elderly59.pdf
3.กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตราย ทางการเกษตร ปี 2553-2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: Available from:
URL// http://www.oae.go.th/ewt_news. php?nid=146
4.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2556. นนทบุรี. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประทศไทย; 2556.
5.แสงโฉม ศิริพานิช. สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556.รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์2556;44:689-692.
6.แสงโฉม ศิริพานิช และสุชาดา มีศรี. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 7 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://epid.moph.go.th
7.สิทธิกร สาริวาท. รายงานข้อมูลสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(ข้อมูลสุขภาพ) 2556. โรงพยาบาลเสริมงาม.อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง.
8.ธีรพงษ์ เสาร์เทพ. พฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกพืช หมุนเวียนในเขตตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2560]. เข้าถึง
ได้จาก:http://www.ap.mju.ac.th/extension/studentactivityindependentstudy.php?status=doc&projectyear=2557
9.Becker, M.H. The health belief model and personal health behavior. Thorofare NJ: Charles B Slack. (1974).
10.สุจิตรา ยอดจันทร์, จรรจา สันตยากร, ณรงค์ศักดิ์หนูสอน และปกรณ์ ประจันบาน. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา. วารสาร
การพยาบาลและสุขภาพ 2554;5:45-54
11.Dempsey,P.A. & Dempsey,A. D. Nursing research with basic statistical applications. (3rd ed.). Boston: Jones and Bartlett. 1992.
12.พรรณทิพย์ โชมขุนทด, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุลและจันทรรัตน์ เจริญสันติ. ผลของการเตรียมตัวเพื่อการคลอดต่อระดับความเจ็บปวด ระยะเวลาของการคลอดและการรับรู้ต่อประสบการณ์การคลอดในสตรี
วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์. พยาบาลสาร 2557;41:13-25
13.เนตรชนก เจริญสุข. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี.[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=141
14.ศุภกานต์ นุสรณ์รัมย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54920536/title.pdf