รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

Kotchapan Sritoam
Nipawan Nernpermpisooth

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ศึกษาปัจจัยการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 13 คน โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข 7 คน (2) สร้างรูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (3) ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ (4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบจากผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองความรุนแรงระดับ 4-5 จำนวน 1 กลุ่ม (60 คน) โดยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม แบบสอบถามประเมินความเป็นไปได้เชิงปฏิบัติของรูปแบบและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ ผู้ป่วยและญาติไม่ทราบอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 84.6) และผู้ป่วยและญาติไม่รู้จักระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ร้อยละ61.5) (2) รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ผลลัพธ์ ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดี (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) ประสิทธิผลของรูปแบบจากผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (M=4.7, SD=0.4) ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับดีมาก (M=4.9, SD=0.2) และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับดี (M=4.1, SD=0.8) โดยสรุป รูปแบบนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการทันเวลา ลดการเสียชีวิต และลดความพิการ สามารถนำไปขยายผลและประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12303&tid=1-001-003&gid=1-015-001

2. World Health Organization. The top 10 causes of death [internet]. 2017 [cited 2017 Oct 25]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

3. World Stroke Organization. About World Stroke Day 2016 [internet]. 2016 [cited 2016 Nov 20]. Available from: http://www.worldstrokecampaign.org/get-involved/world-stroke-day.html

4. Bureau of Policy and Strategy. Public Health Statistic 2013. Nonthaburi: Ministry of Public Health Thailand; 2014.

5. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนอัตราตายโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ ประจำปีงบประมาณ 2557 (จำแนกตามเขตสุขภาพและจำแนกตาม สคร 12 เขต) [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php

6. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560:25-30.

7. ณัฐกิจ พิพัฒน์จาตุรนต์, วรวิทย์ ติดเทียน, กอบโชค วุฒิโชติ วณิชย์กิจ. อัตราป่วยมาตรฐานโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพ ที่ 2 ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2559;47(15):225-9.

8. ธิดารัตน์ อภิญญา, นิตยา พัทธุเวทย์; สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2556 (งบประมาณ 2557) [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A5%20%E0%B8%812556.pdf

9. Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, et al. Thrombolysis with Alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. The new england journal of medicine 2008;359(13):1317-29.

10. Hills NK, Johnston SC. Why are eligible thrombolysis candidates left untreated? Am J Prev Med 2006;31(6 Suppl 2):S210-6.

11. นิจศรี ชาญณรงค์ (สุวรรณเวลา). การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

12. Schroeder EB, Rosamond WD, Morris DL, et al. Determinants of use of emergency medical services in a population with stroke symptoms: the second delay in accessing stroke health care (DASH II) study. Stroke; 2000:31:2591-96.

13. นิพาพร ภิญโญศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาการพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

14. จิรธิดา พ่ออามาตย์. ผลของการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินต่อระยะเวลาก่อนได้รับการรักษา, อัตราการได้รับยาสลายลิ่มเลือด และอาการทางคลินิกที่ 3 เดือนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือุดตันเฉียบพลัน [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/mmp84.pdf

15. กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, สมศักดิ์ เทียมเก่า. Guidelines for the Early Management of Patients with Acute Ischemic Stroke. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

16. โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. สรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2558. โรงพยาบาลบางระกำ; 2558.

17. งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. สรุปผลการเนินงานปีงบประมาณ 2558. โรงพยาบาลบางระกำ; 2558.

18. งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. สรุปผลการเนินงานปีงบประมาณ 2559. โรงพยาบาลบางระกำ; 2559.

19. สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540:129-30.

20. สายฝน เติบสูงเนิน, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. ระดับการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อทอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร; 2560:32(5):482-90.
21. สุทัสสา ทิจะยัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). ภาควิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

22. น้อมจิตร นวลเนตร, เดือนเพ็ญ ศรีขา. ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชนสามเหลี่ยมอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด; 2012:24:318-26.

23. ดลปภัฎ ทรงเลิศ, รัถยานภิศ พละศึก, นิศารัตน์ นรสิงห์. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 2561:5(1):167-78.

24. สุติมา วรชินา. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การบริหารส่วนตำบลสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560:1433-39.

25. พนัชญา ขันติวิจิตร, ภัทระ แสนไชยสุริยา, พิมพ์นิชา เทพวัลย์. ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559:10(3):277-86.

26. มณีรัตน์ สุวรรณวารี. ทฤษฎีระบบ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/458803

27. ศรีสุดา ปลั่งกลาง, วันเพ็ญ บูรณวานิช, สุรีรัตน์ กล้วยนอก. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา; 2557:7(4):92-103.

28. ดวงหทัย สุขวงค์. ผลการพัฒนาการรับรู้และการจัดการอาการเตือนของผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและการจัดการอาการเตือน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศ
ไทย; 2557:4(1):59-67.