การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลศูนย์ แห่งหนึ่ง

Main Article Content

Anchalee Singnoy
Apiradee Nantsupawat
Petsunee Thungjaroenkul

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ แห่งหนึ่ง โดยใช้การสื่อสารแบบ SBAR มาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการรับส่งเวร และใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง FOCUS-PDCA ประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลศูนย์ แห่งหนึ่ง จำนวน 9 คน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ มี 2 กลุ่มคือทีมพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวร จำนวน 3 คนและทีมผู้ปฏิบัติการรับส่งเวร จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ร้อยละหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ทีมผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาลได้ถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 83.3 และไม่พบอุบัติการณ์จากการรับส่งเวรทางการพยาบาล ทีมผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาลเนื่องจาก มีรูปแบบที่ชัดเจน และเป็นแนวทางเดียวกันมากขึ้น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล คือผู้ปฏิบัติบางคนติดตามเอกสารและรายงานข้อมูลตามแนวทางการรับส่งเวรทางการพยาบาลยังไม่ครบถ้วน  ดังนั้นควรจัดระบบเอกสารประกอบการรับส่งเวรทางการพยาบาล และนิเทศการรับส่งเวรทางการพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ  ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลทำให้ทีมผู้ปฏิบัติมีแนวทางในการรับส่งเวรทางการพยาบาล ส่งผลที่ดีต่อผู้ป่วยและผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในกลุ่มงานพิเศษอื่นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Cohen MD., Hilligoss PB. The published literature on handoff in hospital: Deficiencies identified in an extensive review. Quality & Safety in Health Care 2009; 19(6), 493-497.

2. สุระพรรณ พนมฤทธิ์. กระบวนการพยาบาล. กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุข;2554.

3. Gage, W. Evaluating handover practice in an acute NHS trust. Nursing Standard 2013; 27(48), 43-50.

4. O’Connell B., Macdonald K., Kelly C. Nursing handover: It’s time for a change. Contemporary Nurse 2008; 30(1), 2-1.

5. Leonard M., Graham S., Bonacum D. The human factor: The critical important of effective teamwork and communication in providing safe care. Quality & Safe Health Care 2004; 13(Suppl. 1) i85-i90.

6. กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. สรุปรายงานประจำปี 2559.

7. หอผู้ป่วยพิเศษกันตะบุตร โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. สรุปรายงานประจำปี 2559. พิษณุโลก.

8. Currie J. Improving the efficiency of patient handover. Emergency Nurse 2002; 10(3), 24-27.

9. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

10. มนนพรัฐ อุเทน. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

11. อรทัย หล้านามวงค์. การพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยจักษุ โรงพยาบาลลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558.

12. พิมประพรรณ สถาพรพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทั่วไป 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2553.

13. Klee K., Latta L., Davis-Kirsch S., Pecchia M. Using continuous process improvement Methodology to standardize nursing handoff communication. Journal of Pediatric Nursing; 2012 27(2) 168-173.

14. ศรีลาวัลย์ สัจจะสกุลชัย, อารี ชีวเกษมสุข. ผลการใช้รูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลและการบริหารความเสี่ยง ต่อความผิดพลาดในการสื่อสาร หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ.วารสารพยาบาลตำรวจ 2559; 8(2), 91-106.

15. จันทร์จิรา หาญศิริมีชัย. การพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558.