การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ชูเดช เรือนคำ

บทคัดย่อ

วัณโรค ในพื้นที่อำเภอน้ำปาดยังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เนื่องจากผลการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ต่ำกว่าเป้าหมาย อีกทั้งผู้ป่วยยังได้รับการรักษาล่าช้า การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรองวัณโรคในชุมชน กลุ่มเป้าหมายในศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 175 คน ในตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความรู้และการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระยะที่ 2 พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และ เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยสถิติเชิงอนุมาน Dependent T – test ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบในการคัดกรองวัณโรค คือ การคัดกรองไม่ครอบคลุม อาสาสมัครสาธารณสุขมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรคที่ไม่ถูกต้อง การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ประกอบด้วย  อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้ในการป้องกัน ควบคุมโรค และการคัดกรองวัณโรค จับคู่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค การเสริมสร้างความมั่นใจ ในการดำเนินงาน และการสนับสนุนส่วนขาด  ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพ พบว่า หลังการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคมากขึ้น (t =7.780, P <0.001)  มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองโรควัณโรคมากขึ้น(t =9.028, P <0.001)  และ มีคะแนนทักษะการปฏิบัติในการคัดกรองวัณโรคเพิ่มมากขึ้น (t = 27.439, P <0.001)   ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ  ควรนำรูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการคัดกรองวัณโรคในชุมชนนี้ขยายสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อให้มีผลการคัดกรองวัณโรคครอบคลุมเพิ่มสูงขึ้น  และควรวิจัยต่อเนื่องในประเด็นผลของการพัฒนาศักยภาพที่ยังคงอยู่ในระยะยาว เพื่อประเมินความยั่งยืนของการพัฒนา เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการวัดผลทันทีหลังดำเนินการ  

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. กรมควบคุมโรค. สถานการณ์วัณโรคของไทย. สำนักวัณโรค. กระทรวงสาธารณสุข; 2560.กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์; 2540.

2.งานควบคุมโรควัณโรค. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์, 2560.

3. สรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรควัณโรค โรงพยาบาลน้ำปาด ปี 2560; 2560.

4.สำนักวัณโรค.แผนงานควบคุมวัณโรคปี 2560- 2564 กรมควบคุมโรค; 2560.

5.โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1;2556.

6. นงคราญ สมฤทธิ์. ศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการกำกับดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยการใช้ยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

7. ประภาส อนันตา, จรัญญู ทองอเนก. ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น; 2555.

8. สิษฐ์กร โพธิ์ศรี, พรทิพย์ คำพอ. การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเทศบาล ตำบลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัย มข. (บศ.); 2555.