พฤติกรรมการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนของนักเรียนโรงเรียนดอยหลวงรัชมังคลาภิเษก ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จุฑามาศ เมืองมูล
รุ่งรัศมี อาจศัตรู
ศุภรัตน์ ไชยวงค์
สุนันทา วรรณสอน

บทคัดย่อ

การรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพด้านร่างกายของชีวิตนักเรียนทุกคนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนของนักเรียน                โรงเรียนดอยหลวงรัชมังคลาภิเษก โดยอำเภอดอยหลวงส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินเขาและพื้นราบลุ่มแม่น้ำโดยพื้นที่ลักษณะนี้ ทำให้การซื้อของตามร้านสะดวกซื้อทำได้ง่ายและเป็นที่นิยมของเด็กนักเรียน ซึ่งทำให้มีการศึกษา       เชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ณ เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ.2561 ซึ่งทำการศึกษาที่โรงเรียนดอยหลวง               รัชมังคลาภิเษก ตำบลโชคชัย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายประชากรที่ใช้เพื่อการศึกษา คือ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยกลุ่มตัวอย่างจะสุ่มแบบอย่างมีระบบซึ่งใช้แบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนที่ผ่านการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าจำนวนที่มากที่สุดและค่าจำนวนที่น้อยที่สุดและทำการวิเคราะห์พฤติกรรมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 51.5) อายุโดยเฉลี่ย 17 ปี นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 96.0) มีดัชนีมวลกายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 19.5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 41 คน (ร้อยละ 20.5) และได้รับ      ค่าขนมโดยเฉลี่ย 48 บาท และพฤติกรรมการรับประทานอาหารหลังเลิกเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและพบว่ารับประทานยาลดความอ้วนมีผู้ตอบมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 3.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 รองลงมาคือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.80 ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมการรับประทานยาลดความอ้วนและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นักเรียนมักทำเป็นประจำ โดยการวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาสามารถให้ความรู้เพิ่มเติมแก่กลุ่มนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. Thamarangsi T. Obesity epidemic: Costly harms to every individual [Internet]. 2012 [cited 2019 Feb 27]. Available from: http://rcot.org /data_detail.php? op=doctor&id=241

2. Mohsuwan L. The nutritional status of children. Report of public health Thailand by physical examination 4 th [Internet]. 2011 [cited2019 Feb 27]. Available from: http://www.hiso.or.th/ hiso5/ report/ report1.php

3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2556. กรุงเทพ;
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2557.

4. ศักดิ์อนันต์ รัตนสาครชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารอาหารและยา; 2558; 22(1), 61-72.

5. ทัศนา ศิริโชติ. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (รายงานผลการวิจัย). เมืองสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2555.

6. ศรีบังอร สุวรรณพานิช. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตกระบี่. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา; 2555: 4(1), 29-43.

7. สุวรรณา เชียงขุนทด และคณะ. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย).กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2557.

8. รุ่งฟ้า โต๊ะกลม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกรั้วโรงเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม.มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2558

9. มณิภัทร์ ไทรเมฆ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้ากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน.วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559: 4(2), 22-33.

10. ปุรินทร์ ศรีลักษณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลางสถาบันพระบรมราชชนก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.

11. ฐิติกาญจน์ พลับพลาสี, พรรษพร เครือวงษ์. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. วันที่ 21-22กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก.กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559. หน้า 1439-1451.