อาการนำที่หลากหลายในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีผลเสมหะเป็นบวกของ โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

นุสิทธิ์ ชัยประเสริฐ

บทคัดย่อ

วัณโรคปอดเป็นโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญของประเทศไทย อาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลได้แก่ ไอ ไข้ น้ำหนักลดและสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางการหายใจ ทำให้ผู้ป่วยบางคนเสียชีวิตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการนำ และการวินิจฉัยครั้งแรกของผู้ป่วยวัณโรคที่มีเสมหะเป็นบวก  ในโรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยเป็นการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน
ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้งหมดที่มีเสมหะเป็นบวกที่สามารถสืบค้นจากเวชระเบียนได้มีจำนวน 273 คน อาการนำที่สำคัญได้แก่ไอ (71.8%) มีเสมหะ (42.9%) ไข้ (41.8%) น้ำหนักลด (28.9%) อ่อนเพลีย (24.5%) อาการหอบ (22.0%) เบื่ออาหาร (12.1%) เจ็บหน้าอก (5.5%) และปวดศีรษะ (2.6%) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแรกรับว่าเป็นวัณโรคมากขึ้นเมื่อมีอาการไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรังและ น้ำหนักลดมากกว่า 1.5 กิโลกรัมใน 1 เดือน ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการไอไม่นาน ไม่มีไข้ น้ำหนักไม่ลด หรือมีอาการนำอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ
จะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกเป็นโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า มีโอกาสแพร่เชื้อในชุมชนมากขึ้นจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอด ดังนั้นจากการศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าในผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักไว้เสมอว่าผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรควัณโรคได้ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการไอ โดยไม่คำนึงว่าจะมีอาการมานานเท่าใด

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. เจริญศรี แซ่ตั้ง. ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4). 436 – 447.

2. ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. วารสารโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย 2560; 9(1). 19-27.

3. นิรมล พิมน้ำเย็น, ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล, ไพรัตน์ อ้นอินทร์, มนัสวินีร์ ภูมิวัฒน์ และคณะ, การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะตับอักเสบก่อนการรักษาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. พิษณุโลก: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข: 2560.

4. บารเมษฐ์ ภิราลํ้า, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และ ปราบดา ประภาศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2555; 5(2). 45-54.

5. กิตศราวุฒิ ขวัญชารี, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และกรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อในผู้ป่วยเบาหวานของประเทศไทย: การวิเคราะห์เมตา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(3). 10-11.

6. สมพร ขามรัตน์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และกรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด ในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(1). 22 – 32.

7. World Health Organization. Systematic screening for active tuberculosis: an operational guide. Geneva, WHO, 2015.

8. สิรษา ใจอาจหาญ, บรรณาธิการ. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อ วัณโรค และ HIV. เอกสารประกอบการประชุมโครงการพัฒนาระบบการควบคุมวัณโรคจังหวัดลพบุรี; 9 สิงหาคม 2561; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. ลพบุรี; 2561.