ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

Main Article Content

กิตติวัฒน์ กันทะ
ช่อผกา แสนคำมา
ศศิธร กันทะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย ในเขตอำเภอจุนจังหวัดพะเยา  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 จำนวน 8 ราย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นญาติที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ โดยใช้แบบบันทึกสอบสวนการฆ่าตัวตายของ  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (รง 506.DS) ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลบางส่วนจากเวชระเบียนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่สำคัญ (content analysis) ว่าอะไรที่เป็นสาเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ในเขตอำเภอจุน จังหวัดพะเยา  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผลการศึกษา พบว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นเพศชาย 6 ราย  และเพศหญิง 2 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ตายทั้ง 8 รายใช้วิธีการผูกคอตาย 6 ราย ยิงตัวตาย 2 ราย ในจำนวนนี้ เคยบอกคนใกล้ชิดว่าจะฆ่าตัวตายหรืออยากตาย 4 ราย 2 ราย เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการฆ่าตัวตาย มีดังนี้ 1) สภาพร่างกายจากการมีโรคประจำตัว ผู้ตาย 2 ใน 8 ราย มีโรคประจำตัวหลายโรค ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง 2) สภาพจิตใจ โดยผู้ตาย 2 รายเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าหรือมีอาการซึมเศร้า อีก 3 รายเป็นผู้ป่วยจิตเภท มีประวัติการใช้สุรา และสารเสพติดแอมเฟตามีนมาก่อน มี 1 ราย ไม่มีประวัติโรคประจำตัว 3) สภาพครอบครัวและสังคม พบว่าแบบแผนของครอบครัวไม่ได้เอื้ออำนวยให้มีสุขภาพจิตที่ดี เช่น ลักษณะครอบครัวแตกแยกอาศัยอยู่บ้านเพียงคนเดียว  4) ด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้ตาย 5 รายมีปัญหาหนี้สินร่วมด้วย 5) ด้านวัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมพบว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่มีทางออก บางรายเคยมีญาติฆ่าตัวตายด้วยวิธีเดียวกัน 6)ปัจจัยอื่นๆ เช่น คนรักมีคนรักใหม่ สรุป ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักมีปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีโรคทางจิตเวช มีภาระหนี้สิน ขาดคนที่คอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือ ผู้ที่ฆ่าตัวตายทุกรายมีบุคลิกเดิมเป็นคนใจร้อน เจ้าอารมณ์ และ ก่อนที่จะทำร้ายตนเองจะมีลักษณะแยกตัวไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. World Health Organization. World Health Statistics data [Internet]. [cited 2019 Nov 1]. Available from: http://apps.who.int/gho/data/node.sdg.3-4-viz-2?lang=en.

2. Krug E.G., Dahlberg L.L, Mercy J.A., Zwi A.B., Lozano R. World report on violence and health. Geneva: World health organization; 2002.

3. กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

4. โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย.รายงานการเฝ้าระวังบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและอื่นๆ
19 สาเหตุ. สุโขทัย: กลุ่มงานการพยาบาล; 2553.

5. Lindqvist D, et al. Interluekin-6 Is Elavated in the cerebrospinal fluid of suicide attempters and relate to symptom severity. Bio Psychiatry 2009; 66: 287-292.

6. Aghanwa HS. The Characteristic of suicide attempters admitted to the main general hospital in Fiji Islands. Journal of Psychosomatic Research.2000; 49: 63-69.

7. Kume r , CT S . , Mo h a n R . , R a n j i t hG., ChandrasekaranR., Characteristic of high –intentsuicide attempted admitted to a general hospital. Journal of affective disorder. 2006; 91: 77- 81.

8. Manor I,et al. Possible association between attention deficit hyperactivity disorder and attempted suicide in adolescent A pilot study. Elsevier Inc. European Psychiatry;
2009; 25: 146–150.

9. Stewart S.M.,et al. Adolescent suicide attempters in Hong Kong and the United States. Social Science & Medicine. 2006; 63: 296-306.

10. ธนา นิลชัยโกวิทย์ และจักรกฤษณ์ สุขยิ่ง. ความคิดพยายามฆ่าตัวตาย ในประชากรเขต หนองจอก กรุงเทพฯ.

11. Michael R Phillips, Gonghuan Yang,Yanping Zhang, Lijun Wang, Huiyu Ji,Maigeng ZhouRisk factors for suicide in China: a national case-control psychological autopsy
study. Lancet. 2002; 360: 1728–36.

12. Brown G.K., Beck A.T., Steer R.A.Grisham J.R., Risk Factors for Suicide in Psychiatric Outpatients: A 20-Year Prospective Study, Journal of Consulting and Clinical
Psychology2000; 68: 3, 371-377.

13. ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ และรุจิดา ศิริวัฒนา .ปัจจัยเสี่ยง และ ปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง. วารสารสภาการพยาบาล 2551; 23(3) : 61-71.

14. ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล และสุรสิงห์ วิศรุตรัตน์.การฆ่าตัวตาย:การสอบสวนหาสาเหตุและการ
ป้องกัน. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส; 2541.

15. เจริญ แจ่มแจ้งและพนมศรี เสาร์สาร์. การสำรวจภาวการณ์ฆ่าตัวตายของประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครโดยพยาบาลจิตเวช. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

16. มาโนช หล่อตระกูล. แนวโน้มการฆ่าตัวตายใน ประเทศไทย : แง่มุมทางเพศและช่วงวัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2545;