Interim Resuscitation Guidance for Healthcare Providers during COVID-19 Outbreak
Keywords:
Save lives, Medical staffAbstract
การระบาดของโรคอุบัติใหม่โคโรน่าไวรัส (โควิด-19) เกิดจากเชื้อ SARS-CoV-2 เริ่มพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2562 หลังจากการสืบสวนโรคและการตรวจสอบย้อนหลัง คาดว่าผู้ติดเชื้อครั้งแรกประมาณวันที่ 8 ธันวาคม 2562 (ยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) หรือประมาณวันที่ 2 ธันวาคม 2562 (จากการวินิจฉัยทางคลินิกรายแรก) หลังจากนั้น คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนได้ออกมายืนยันว่าโควิด-19 สามารถติดต่อจาก “คนสู่คน” เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 และพบการแพร่ระบาดของโควิด-19 รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้รัฐบาลจีนได้ประกาศใช้มาตรการ “ปิดเมือง” ที่เกิดการแพร่ระบาด เริ่มจากเมืองอู่ฮั่นเป็นเมืองแรกและประกาศปิดเมืองใกล้เคียงเพิ่มขึ้น ได้แก่ เมืองหวงกัง เอ้อโจว ชิบิ เฉียนเจียง ซีเจียง จิงเหมิน เซียนเถ่า เสี่ยวกัน และหวงฉี ซึ่งในช่วงก่อนปิดเมืองพบว่าชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศกว่า 10 ล้านคน/เดือน และต่อมาพบผู้ติดเชื้อในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ประเทศทั่วโลก1
วันที่ 13 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายแรกในประเทศเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน อายุ 61 ปี เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน2,3 ต่อมา วันที่ 31 มกราคม 2563 พบผู้ป่วยคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อโควิด-19 อายุ 50 ปี อาชีพขับแท็กซี่ ไม่เคยเดินทางไปประเทศจีน แต่รับผู้โดยสารนักท่องเที่ยวชาวจีนและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนหายป่วย4และมีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนวันที่ 1 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขรายงานพบผู้เสียชีวิตรายแรกของประเทศเป็นชายไทย อายุ 35 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นโรคไข้เลือดออกเมื่อปลายเดือนมกราคม 2563 ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมามีอาการติดเชื้อในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุและได้รับการตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19 ภายหลัง จึงได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร5 หลังจากนั้นมีการแพร่ระบาดและพบผู้ติดเชื้อโควิด-19เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย จนในวันที่ 25 มีนาคม 2563 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม–30 เมษายน 2563 รวมทั้งมีการจัดตั้ง "ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19);ศบค."เป็นหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ6 ต่อมาได้มีการขยายเวลาจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 และมีแนวโน้มจะยังคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2563
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปสืบสวนสถานการณ์ในจีน
สรุปได้ว่า ไวรัสชนิดใหม่นี้ มีพันธุกรรม 96% เหมือนกับโคโรนาไวรัสที่อยู่ในค้างคาว และเหมือนโคโรนาไวรัสในตัวนิ่ม (pangolin) 86-92% จึงมีความเป็นไปได้ว่า ที่มาของไวรัสใหม่นี้คือ ส่งผ่านไวรัสที่กลายพันธุ์จากสัตว์มายังคน โดยการติดเชื้อจากคนสู่คน ส่วนใหญ่ประมาณ 78-85% ติดต่อกันในครอบครัวจากละอองเสมหะ (droplet) ไม่ใช่จากการกระจายของละอองลอย (aerosol) อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ (88%) ไอแห้งๆ (68%) ไม่มีเรี่ยวแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%) อาการที่พบน้อยลงมา คือ คลื่นไส้และอาเจียน (5%) คัดจมูก (5%) และท้องเสีย (4%) และอาการที่ไม่ใช่สัญญาณโรคของโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล โดยผู้ป่วยราว 80% มีอาการไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการในที่สุด พบผู้ป่วยส่วนน้อยที่ตรวจพบไวรัสแต่ไม่มีอาการและระยะเวลาเริ่มมีอาการป่วยภายหลังการติดเชื้อแตกต่างกัน ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงประมาณ 15% ต้องใช้ออกซิเจนเข้มข้นสูง และ5%ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ช่วงการฟื้นตัวหลังจากเริ่มแสดงอาการป่วยโดยเฉลี่ยราว 2 สัปดาห์สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และ 3–6 สัปดาห์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง คนที่ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีนราว 20% ต้องการการรักษาที่โรงพยาบาลนานหลายสัปดาห์ โดยมีโรงพยาบาลเพียงพอจะใช้รักษาประชากรได้ 0.4% ของทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ มีศักยภาพราว 0.1–1.3% และเตียงส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีผู้ป่วยโรคอื่นเดิมอยู่ จึงได้จัดโรงพยาบาลชั่วคราว 10 แห่งที่ปรับใช้จากการดัดแปลงยิมเนเซียมและห้องจัดแสดงนิทรรศการและก่อสร้างโรงพยาบาลพิเศษใหม่หั่วเสินซาน ในเมืองอู่ฮั่น เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยอ้างอิงรูปแบบการก่อสร้างจากโรงพยาบาลเสี่ยวทังซาน ในกรุงปักกิ่ง ที่เคยใช้เป็นสถานกักกันและรักษาผู้ป่วยโรคซาร์สเมื่อปี ค.ศ. 2003 ขนาด 34,000 ตารางเมตร พร้อมเตียงรองรับผู้ป่วย 1,000 หลัง ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 11 วัน นับตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2563 และเปิดรับผู้ป่วยกลุ่มแรกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 วิธีการรับมือที่สำคัญแรกสุดของประเทศจีนเพื่อช่วยป้องกันการกระจายของโควิด-19 คือ ทำให้จำนวนผู้ป่วยรุนแรงมีจำนวนน้อยที่สุด และขั้นตอนสำคัญรองลงมาคือ การเพิ่มจำนวนเตียง (รวมทั้งวัสดุและบุคลากร) จนกว่าจะมีเพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยรุนแรงคือผู้ป่วยที่มีโรคร่วมก่อนการติดเชื้อ โดยอัตราการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคระบบหลอดเลือดหัวใจประมาณ13.2% โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีหรือสูงอยู่ที่ 9.2% โรคความดันโลหิตสูง 8.4% โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง 8% และโรคมะเร็ง 7.6% คนที่ไม่มีอาการป่วยใดๆ ก่อนติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตที่ 1.4% โดยพบว่ายิ่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่อายุน้อยจะติดเชื้อได้ยากและแม้ติดเชื้อแล้วอาการจะไม่รุนแรงเท่าผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า ทางด้านสาธารณสุขของประเทศจีน มีการตอบสนองที่จำเพาะเจาะจง เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายเชื้อเป็นลูกโซ่จากคนสู่คน โดยมีพื้นฐานของมาตรการต่างๆ เช่น การเฝ้าระวังอย่างเข้มแข็งในการตรวจหาผู้ติดเชื้อให้ได้ไวที่สุด การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วมาก การแยกผู้ป่วยทันทีที่สงสัยการติดเชื้อ การติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การกักกันตัวผู้ที่ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมไปถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจ การยอมรับในมาตรการระดับสูงเหล่านี้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ได้ใช้มาตรการสาธารณสุขอย่างเต็มที่ เช่น การลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโควิด-19 การวางแผนเตรียมความพร้อมระยะใกล้และระยะฟื้นฟูต่อไป7
References
Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). 16-24 February 2020 Available at : https://www.who.int/publications-detail/report-of-the-who-china-joint-mission-on-coronavirus-disease-2019-(covid-19)
"Thailand confirms first case of Wuhan virus outside China". South China Morning Post. 13 January 2020. Archived from the original on 13 January 2020. Accessed January 13, 2020.
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Available at : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no10-130163.pdf
"สธ.แถลง พบคนขับแท็กซี่ ติดไวรัสโคโรน่า เป็นคนไทยรายแรก ไม่มีประวัติไปจีน" [Ministry of Health announces taxi driver infected with coronavirus, first Thai with no records of travelling to China]. Thairath Online. 31 January 2020. Archived from the original on 31 January 2020. Accessed January 13, 2020.
"ไวรัสโคโรนา : ผู้ป่วยโควิด-19 คนไทย เสียชีวิตรายแรก" [First Thai COVID-19 death]. BBC Thailand 1 March 2020. Accessed March 1, 2020.
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๕/๒๕๖๓. เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘. ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๖ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๖๙ ง ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓
Available at : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/069/T_0006.PDF
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ "The WHO sent 25 international experts to China and here are their main findings after 9 days" 2020. Available at : [https://www.reddit.com/r/China_Flu/comments/fbt49e/the_who_sent_25_international_experts_to_china/?utm_medium=android_app&utm_source=share]
Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it. World Health Organization.February 11, 2020.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓.ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๔๘ ง ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
Available at : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/10020200514102630.PDF
American Heart Association Interim Guidance for Healthcare Providers during COVID-19 Outbreak. https://cpr.heart.org/-/media/cpr-files/resources/covid-19-resources-for-cpr-training/interim-guidance-march- 19-2020.pdf?la=en&hash=5A491D18BBB61795442A98A49A50C05173C77EF6
ชมรมคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต(Thai Resuscitaton Concil) สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์.ACLS Provider Manual คู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ปี ค.ศ.2015. กรุงเทพมหานคร; 2017
Milton DK, Fabian MP, Cowling BJ, Grantham ML, McDevitt JJ. Influenza Virus Aerosols in Human Exhaled Breath: Particle Size, Culturability, and Effect of Surgical Masks. PLoS Pathogens. 2013;9(3). doi:10.1371/journal.ppat.1003205
Noti JD, Lindsley WG, Blachere FM, et al. Detection of Infectious Influenza Virus in Cough Aerosols Generated in a Simulated Patient Examination Room. Clinical Infectious Diseases. 2012;54(11):1569-1577. doi:10.1093/cid/cis237
Pippin DJ, Verderame RA, Weber KK. Efficacy of face masks in preventing inhalation of airborne contaminants. Journal of Oral and Maxillofacial Surgery. 1987;45(4):319-323. doi:10.1016/0278-2391(87)90352-1
Tran K, Cimon K, Severn M, Pessoa-Silva CL, Conly J. Aerosol Generating Procedures and Risk of Transmission of Acute Respiratory Infections to Healthcare Workers: A Systematic Review. Semple MG, ed. PLoS ONE. 2012;7(4):e35797. doi:10.1371/journal.pone.0035797
Mahase E, Kmietowicz Z. Covid-19: Doctors are told not to perform CPR on patients in cardiac arrest. BMJ. Published online March 29, 2020:m1282. doi:10.1136/bmj.m1282
Fritz Z, Perkins GD. Cardiopulmonary resuscitation after hospital admission with covid-19. BMJ. Published online April 6, 2020:m1387. doi:10.1136/bmj.m1387
Baskett P, Nolan J, Parr M. Tidal volumes which are perceived to be adequate for resuscitation. Resuscitation. 1996;31(3):231-234. doi:10.1016/0300-9572(96)00994-X
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ การแพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในราชวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว